นิสสัน มาร์ช เจเนอเรชันที่ 4 เผยโฉมครั้งแรกในงานเจนีวา มอเตอร์โชว์ 2010 ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา แต่ไทยถือเป็นประเทศแรกในโลกที่เปิดตัวพร้อมขายอย่างเป็นทางการ ซึ่งหลังการเปิดตัวเพียง 1 เดือน ก็มียอดจองเข้ามากว่า 9,000 คันแล้ว
มาร์ช รุ่นนี้พัฒนาบนพื้นฐานใหม่ หรือ“วี แพลตฟอร์ม” ซึ่งเตรียมใช้ในการผลิตรถยนต์นั่งขนาดเล็กรุ่นใหม่ของนิสสัน โดยวาง 4 ประเทศหลักคือ ไทย อินเดีย จีน เม็กซิโก ในการขึ้นไลน์ผลิตส่งออกไปกว่า 160 ประเทศทั่วโลก
การทำตลาดในไทยวางเครื่องยนต์ HR12DE ขนาด 1.2 ลิตร 3 สูบ พัฒนามาจากโครงสร้างเดียวกับHR16DE 4 สูบ ที่วางในเก๋ง“ทีด้า”รุ่น 1.6 ลิตร ส่วนการทำตลาดในบางประเทศจะเสริมสมรรถนะด้วยระบบอัดอากาศแบบซูเปอร์ ชาร์จ รวมถึงเครื่องยนต์ดีเซลที่ขายในยุโรป
เมื่อพิจารณาวัสดุการประกอบและการตกแต่งภายใน จากการใช้มือสัมผัสและมองด้วยสายตาประเมินว่า คุณภาพดีกว่าครั้งแรกเห็นที่โรงงาน (เพราะตอนนั้นยังเป็นตัวทดลอง ประกอบรุ่นแรกๆอยู่) และเนียนกว่ารถจากจีน-มาเลเซียแน่นอน แต่กระนั้นถ้ามองรวมๆ ก็ไร้ซึ่งความหรูหรา บางจุดดูประหยัดไปนิดถ้าเทียบกับมาตรฐาน รถญี่ปุ่นหลายรุ่น
การขับรุ่นเกียร์ธรรมดา อาจจะรู้สึกเทอะทะในช่วงแรก เพราะแป้นเบรก กับแป้นคลัทซ์ อยู่แทบไม่ห่างกันมาก ดังถ้าคนตัวสูง-เท้าใหญ่อาจต้องปรับ ตัวเล็กน้อย ส่วนการเข้าเกียร์สับง่ายเปลี่ยนคล่อง โดยกดคลัทซ์ตื้นๆก็โยกเกียร์ได้สบาย แต่กระนั้นผู้สื่อข่าวบางท่านให้ ความเห็นไว้ว่า คลัทซ์ยังหนักไปนิด
…ถนนในภูเก็ตคดเคี้ยวเลี้ยวลดไม่พอ แถมยังขึ้นลงเขาอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นความท้าทายของ เครื่องยนต์แค่ 1.2 ลิตร 79 แรงม้า ซึ่งการขับจริงๆไม่อืดครับ การขึ้นทางชันๆ ถ้าระวังตัวสักนิด เชนเกียร์ล่วงหน้า อุปสรรคต่างๆก็ผ่านไปได้สบาย
ส่วนการขับในรุ่นเกียร์อัตโนมัติอัตราทดแปรผันต่อเนื่องหรือ CVT การออกตัวตอบสนองทันใจ ช่วงความเร็ว 0-50 กิโลเมตรต่อชั่วโมงให้อัตราเร่งดี แต่ผิดกันกับย่านความเร็วกลางๆ หรือระดับ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป พละกำลังจะมาช้าหน่อย เรียกว่า ตีนต้นดีแต่กลางหายปลายหด
รายละเอียดเพื่อน ลองศึกษาได้จากคู่มือ ครับ ที่กล่าวมาทั้งหมด
การที่นิสสันเลือกใช้เกียร์ CVT ส่งกำลัง โดยเซ็ทอัตราทดกว้างให้แรงบิดดีในช่วงตีนต้น ส่วนความเร็วกลางหรือสูงนั้นเน้นประหยัดน้ำมันไว้ก่อน ก็ไม่แปลกครับเพราะรถเล็กเน้นขับในเมือง เครื่องยนต์เล็ก แรงม้าน้อยต้องได้อย่างเสียอย่าง (ถ้าจะเอาประหยัดน้ำมันด้วย)
การ บังคับควบคุมผ่านพวงมาลัยไฟฟ้า น้ำหนักเบาเน้นความคล่องตัวใน เมือง รัศมีวงเลี้ยวแคบสุดเพียง4.5 เมตร แต่องศาเลี้ยวนั้นออกแนวขาดๆเกินๆ การเข้าโค้งที่ความเร็ว 80-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ออกแนว“โหวงเหวง” ทั้งรุ่นเกียรธรรมดาที่ใช้ล้อ 14 นิ้วหน้ายาง 165 และตัวท็อปเกียร์อัตโนมัติ ประกบล้ออัลลอยด์ 15 นิ้ว หน้ายาง 175
แม้บุคลิกของพวงมาลัยจะทำให้ขาดความมั่นใจไปบ้าง แต่ไม่ได้หมายความว่ามาร์ชจะวิ่งความเร็วสูงไม่ดี เพราะจากที่ลองทางยาวๆความเร็ว 100-120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตัวรถยังทรงตัวเยี่ยม ช่วงล่างนิ่ง อาการโยกคลอนขณะเข้าโค้งถือว่าน้อย การันตีว่าขับทางไกลหรืออกต่างจังหวัดได้สบาย
ด้านเบรกใช้หน้าดิสก์หลังดรัม ระยะชะลอหยุดถือว่าสอบผ่าน บวกกับตัวรถกระจายน้ำหนักดี เวลากดแป้นเบรกไม่มีอาการหน้าทิ่ม ส่วนใครอยากได้ความปลอดภัยครบชุดอย่างเบรก ABS EBD BA จะมาใน 2 ตัวบนของรุ่นเกียร์อัตโนมัติ (V,VL) เท่านั้น
รวบรัดตัดความ… “ขับง่าย จอดสบาย” จากขนาดรถกะทัดรัด เครื่องยนต์และระบบส่งกำลังผสานการทำงานให้การขับขี่ในเมืองคล่อง แคล่ว… “ง่าย สบายเงินในกระเป๋า” ทั้งความสามารถในการซื้อหามาเป็นเจ้า ของ ราคา 3.75 – 5.37 แสนบาท ถือเป็นเก๋งป้ายแดงแบรนด์ญี่ปุ่นที่ ราคา(เริ่มต้น)ถูกสุดในตอนนี้ รวมถึงค่าใช้จ่ายต่อหน่วยการวิ่งที่ มีอัตราบริโภคน้ำมันระดับจิ๊บๆ (วิ่งลงดอยสุเทพ-แหลมพรมเทพได้แน่ นอน) ที่สำคัญด้วยชื่อชั้นนิสสันด้านบริหารอะไหล่ และการใช้ชิ้นส่วน ประกอบในประเทศเกิน 94% ยิ่งรุ่นเกียร์ธรรมดาออปชันไม่ซับซ้อน เชื่อว่าค่าบำรุงรักษาต่ำ สามารถควักจ่ายได้“ง่ายๆ”แน่นอน
มาร์ช รุ่นนี้พัฒนาบนพื้นฐานใหม่ หรือ“วี แพลตฟอร์ม” ซึ่งเตรียมใช้ในการผลิตรถยนต์นั่งขนาดเล็กรุ่นใหม่ของนิสสัน โดยวาง 4 ประเทศหลักคือ ไทย อินเดีย จีน เม็กซิโก ในการขึ้นไลน์ผลิตส่งออกไปกว่า 160 ประเทศทั่วโลก
การทำตลาดในไทยวางเครื่องยนต์ HR12DE ขนาด 1.2 ลิตร 3 สูบ พัฒนามาจากโครงสร้างเดียวกับHR16DE 4 สูบ ที่วางในเก๋ง“ทีด้า”รุ่น 1.6 ลิตร ส่วนการทำตลาดในบางประเทศจะเสริมสมรรถนะด้วยระบบอัดอากาศแบบซูเปอร์ ชาร์จ รวมถึงเครื่องยนต์ดีเซลที่ขายในยุโรป
เมื่อพิจารณาวัสดุการประกอบและการตกแต่งภายใน จากการใช้มือสัมผัสและมองด้วยสายตาประเมินว่า คุณภาพดีกว่าครั้งแรกเห็นที่โรงงาน (เพราะตอนนั้นยังเป็นตัวทดลอง ประกอบรุ่นแรกๆอยู่) และเนียนกว่ารถจากจีน-มาเลเซียแน่นอน แต่กระนั้นถ้ามองรวมๆ ก็ไร้ซึ่งความหรูหรา บางจุดดูประหยัดไปนิดถ้าเทียบกับมาตรฐาน รถญี่ปุ่นหลายรุ่น
การขับรุ่นเกียร์ธรรมดา อาจจะรู้สึกเทอะทะในช่วงแรก เพราะแป้นเบรก กับแป้นคลัทซ์ อยู่แทบไม่ห่างกันมาก ดังถ้าคนตัวสูง-เท้าใหญ่อาจต้องปรับ ตัวเล็กน้อย ส่วนการเข้าเกียร์สับง่ายเปลี่ยนคล่อง โดยกดคลัทซ์ตื้นๆก็โยกเกียร์ได้สบาย แต่กระนั้นผู้สื่อข่าวบางท่านให้ ความเห็นไว้ว่า คลัทซ์ยังหนักไปนิด
…ถนนในภูเก็ตคดเคี้ยวเลี้ยวลดไม่พอ แถมยังขึ้นลงเขาอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นความท้าทายของ เครื่องยนต์แค่ 1.2 ลิตร 79 แรงม้า ซึ่งการขับจริงๆไม่อืดครับ การขึ้นทางชันๆ ถ้าระวังตัวสักนิด เชนเกียร์ล่วงหน้า อุปสรรคต่างๆก็ผ่านไปได้สบาย
ส่วนการขับในรุ่นเกียร์อัตโนมัติอัตราทดแปรผันต่อเนื่องหรือ CVT การออกตัวตอบสนองทันใจ ช่วงความเร็ว 0-50 กิโลเมตรต่อชั่วโมงให้อัตราเร่งดี แต่ผิดกันกับย่านความเร็วกลางๆ หรือระดับ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป พละกำลังจะมาช้าหน่อย เรียกว่า ตีนต้นดีแต่กลางหายปลายหด
รายละเอียดเพื่อน ลองศึกษาได้จากคู่มือ ครับ ที่กล่าวมาทั้งหมด
การที่นิสสันเลือกใช้เกียร์ CVT ส่งกำลัง โดยเซ็ทอัตราทดกว้างให้แรงบิดดีในช่วงตีนต้น ส่วนความเร็วกลางหรือสูงนั้นเน้นประหยัดน้ำมันไว้ก่อน ก็ไม่แปลกครับเพราะรถเล็กเน้นขับในเมือง เครื่องยนต์เล็ก แรงม้าน้อยต้องได้อย่างเสียอย่าง (ถ้าจะเอาประหยัดน้ำมันด้วย)
การ บังคับควบคุมผ่านพวงมาลัยไฟฟ้า น้ำหนักเบาเน้นความคล่องตัวใน เมือง รัศมีวงเลี้ยวแคบสุดเพียง4.5 เมตร แต่องศาเลี้ยวนั้นออกแนวขาดๆเกินๆ การเข้าโค้งที่ความเร็ว 80-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ออกแนว“โหวงเหวง” ทั้งรุ่นเกียรธรรมดาที่ใช้ล้อ 14 นิ้วหน้ายาง 165 และตัวท็อปเกียร์อัตโนมัติ ประกบล้ออัลลอยด์ 15 นิ้ว หน้ายาง 175
แม้บุคลิกของพวงมาลัยจะทำให้ขาดความมั่นใจไปบ้าง แต่ไม่ได้หมายความว่ามาร์ชจะวิ่งความเร็วสูงไม่ดี เพราะจากที่ลองทางยาวๆความเร็ว 100-120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตัวรถยังทรงตัวเยี่ยม ช่วงล่างนิ่ง อาการโยกคลอนขณะเข้าโค้งถือว่าน้อย การันตีว่าขับทางไกลหรืออกต่างจังหวัดได้สบาย
ด้านเบรกใช้หน้าดิสก์หลังดรัม ระยะชะลอหยุดถือว่าสอบผ่าน บวกกับตัวรถกระจายน้ำหนักดี เวลากดแป้นเบรกไม่มีอาการหน้าทิ่ม ส่วนใครอยากได้ความปลอดภัยครบชุดอย่างเบรก ABS EBD BA จะมาใน 2 ตัวบนของรุ่นเกียร์อัตโนมัติ (V,VL) เท่านั้น
รวบรัดตัดความ… “ขับง่าย จอดสบาย” จากขนาดรถกะทัดรัด เครื่องยนต์และระบบส่งกำลังผสานการทำงานให้การขับขี่ในเมืองคล่อง แคล่ว… “ง่าย สบายเงินในกระเป๋า” ทั้งความสามารถในการซื้อหามาเป็นเจ้า ของ ราคา 3.75 – 5.37 แสนบาท ถือเป็นเก๋งป้ายแดงแบรนด์ญี่ปุ่นที่ ราคา(เริ่มต้น)ถูกสุดในตอนนี้ รวมถึงค่าใช้จ่ายต่อหน่วยการวิ่งที่ มีอัตราบริโภคน้ำมันระดับจิ๊บๆ (วิ่งลงดอยสุเทพ-แหลมพรมเทพได้แน่ นอน) ที่สำคัญด้วยชื่อชั้นนิสสันด้านบริหารอะไหล่ และการใช้ชิ้นส่วน ประกอบในประเทศเกิน 94% ยิ่งรุ่นเกียร์ธรรมดาออปชันไม่ซับซ้อน เชื่อว่าค่าบำรุงรักษาต่ำ สามารถควักจ่ายได้“ง่ายๆ”แน่นอน