วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ปอร์เช่ 918 RSR รถแข่ง เครื่องไฮบริด
สตุ้ดการ์ด. ปอร์เช่ เอจี สามารถดำเนินการขยายประสิทธิภาพของสมรรถนะรถยนต์และประสิทธิภาพสมรรถนะระดับสูงของรถให้มีความเหนือชั้นขึ้นไปอีกผ่านการพัฒนาเทคโนโลยีไฮบริดอย่างเข้มข้น ปอร์เช่ 918 อาร์เอสอาร์ (Porsche 918 RSR) คือรถยนต์สปอร์ตระดับพรีเมี่ยมที่ถือได้ว่าเป็นการนำเสนอความสำเร็จของแนวคิดไฮบริดในปี 2010 เลยทีเดียว ด้วยที่นั่ง 2 ที่นั่ง เครื่องยนต์วางกลางแบบคูเป้นี้เอง คือสิ่งที่ 918 อาร์เอสอาร์ (918 RSR) แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอะไรจะเกิดขึ้นเมื่อติดตั้งเทคโนโลยีไฮบริดในรุ่น 911 จีที3 อาร์ (911 GT3 R) เข้าไปพร้อมกับการผสมผสานการออกแบบของ 918 สปายเดอร์ (918 Spyder) ได้อย่างลงตัว ผลลัพธ์ที่ได้คือการแสดงให้เห็นถึงความทันสมัยที่บ่งบอกถึงนวัตกรรม รถยนต์ซุปเปอร์สปอร์ตที่เหนือชั้นนั่นเอง ด้วยการสะสมและควบคุมการทำงานของล้อช่วยแรงที่มีประสิทธิภาพทำให้ 911 จีที3 อาร์ (911 GT3 R) รถแข่งเครื่องยนต์ไฮบริดสามารถพิสูจน์ให้เห็นได้ว่ารถแข่งคันนี้คือแม่เหล็กที่ดึงดูดความสนใจจาก ผู้ชมทั่วโลกได้อย่างดีเยี่ยมในสนาม Nürburgring Nordschleife ระหว่างการแข่งขันรายการ American Le Mans Series (ALMS) ใน Road Atlanta/USA และ ILMC ในจูไห่ของจีน 911 จีที3 อาร์ ไฮบริด (911 GT3 R Hybrid) หรือที่กล่าวถึงภายในว่า “Race Lab” นี้อันที่จริงแล้วถือได้ว่าเป็นประสิทธิภาพที่เหนือชั้นและทะลุความคาดหวังของมอเตอร์สปอร์ตปอร์เช่อีกด้วย ความสามารถในการแข่งขัน ความน่าเชื่อถือในระดับสูง การประหยัดน้ำมัน ผสมผสานรวมกับประสิทธิภาพและสมรรถนะที่ดีเยี่ยมนี้ได้มาจากพื้นฐานแนวคิดของช่างเทคนิคปอร์เช่ในการสร้างขุมพลังที่เพิ่มเติมให้กับรถยนต์ในลักษณะที่ชาญฉลาดนั่นเอง 911 จีที3 อาร์ ไฮบริด (911 GT3 R Hybrid) ได้รับขุมพลังเพิ่มเติมจากการเปลี่ยนแปลงของตัวรถเองเมื่อทำการเบรคอีกด้วย และตอนนี้ปอร์เช่ก็ได้ถ่ายเทเทคโนโลยีที่เหนือชั้นนี้เข้าสู่เครื่องยนต์วางกลางคูเป้ 918 อาร์เอสอาร์ (918 RSR) รถแข่งมอเตอร์สปอร์ตของแนวคิด 918 Spyder (918 สปายเดอร์) แล้ว นักออกแบบของปอร์เช่ได้สร้างความเชื่อมโยงจากประเพณีและวัฒนธรรมที่จัดตั้งขึ้นของรถแข่งระยะไกลของปอร์เช่คลาสสิก เช่นรุ่น 908 Longtable Coupe (1969) และ 917 Short-tail coupe (1971) เข้ากับแนวคิดล้ำสมัยใหม่ของหลักปรัชญา "รูปแบบตามฟังก์ชั่น" ได้อย่างลงตัว เส้นสายของตัวรถที่สง่างามใน 918 อาร์เอสอาร์ (918 RSR) ได้ถ่ายเทและเป็นเส้นสายที่เชื่อมโยงต่อเนื่องอย่างโดดเด่นตั้งแต่ส่วนโค้งของฐานล้อที่ทรงพลัง ช่องดักลมที่มีความคล่องตัว และห้องโดยสารที่โดดเด่นได้อย่างลงตัว ช่องลมของล้อที่มองเห็นได้ระหว่าง RAM ของท่อไอดีและสปอยเลอร์ด้านหลังนั้นมีขนาดตามหลักของ อาร์เอส สปายเดอร์ (RS Spyder) ซึ่งเน้นการทำงานแบบห้องปฏิบัติการของรถแข่งเช่นเดียวกัน สีใหม่ "liquid metal chrome blue”ได้รับการสร้างขึ้นตามเส้นสายส่วนโค้งของรถ คาลิปเปอร์เบรคและเส้นยาวของตัวรถนั้นเป็นสีส้ม Porsche Hybrid ซึ่งเป็นสีรูปแบบเฉพาะที่เน้นการสร้าง สัมผัสที่โดดเด่นให้กับรถได้อย่างงดงามและลงตัวเทคโนโลยีของรถแข่งได้ถูกนำมาใช้เพิ่มเติมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ทำให้รถมีน้ำหนักที่เบาโดยการใช้พลาสติกแบบ Carbon Fibre Reinforced Plastic (CFRP)
เครื่องยนต์แบบ V8 ยังได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมในเรื่องของระบบการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงโดยตรงของรถแข่ง RS Spyder ที่ประสบความสำเร็จอีกด้วยเช่นเดียวกันและในตอนนี้ขุมพลังของเครื่องยนต์ที่แม่นยำใน 918 อาร์เอสอาร์ (918 RSR) นั้นมีถึง 563 แรงม้าที่รอบเครื่องยนต์ 10,300 รอบต่อนาที มอเตอร์ไฟฟ้าบนสองล้อหน้านั้นส่งกำลังถึง 75 กิโลวัตต์ ในแต่ละด้าน เช่นส่งกำลังรวม 150 กิโลวัตต์ที่กำลังขับสูงสุด 767 แรงม้า ขุมพลังจะได้รับเพิ่มเติมจากการเบรคและเก็บไว้ในตัวเก็บสะสมของล้อช่วยแรงได้อย่างดีเยี่ยม มอเตอร์ไฟฟ้าทั้ง 2 ตัวของ 918 อาร์เอสอาร์ (918 RSR) อำนวยฟังก์ชั่นการกระจายแรงบิด ซึ่งเป็นแรงบิดแปรผันไปยังเพลาหน้า และสิ่งนี้จะช่วยเพิ่มความคล่องตัวและปรับปรุงการตอบสนองของพวงมาลัยได้เป็นอย่างดี ด้านเพลาหลังเครื่องยนต์วางกลางได้ถูกนำมารวมกับการส่งผ่านกำลังแบบรถแข่งบนพื้นฐานของรถแข่งอาร์เอส สปายเดอร์ (RS Spyder) ซึ่งเป็นการพัฒนาเกียร์ 6 จังหวะให้มีการส่งผ่านกำลังที่รวดเร็วและแม่นยำ อีกทั้งยังติดตั้งเพลาตามยาวและฟันเกียร์จะทำงานโดยการใช้ก้าน shift paddles หลังพวงมาลัยรถแข่งนั่นเอง อุปกรณ์การทำงานต่างๆ ของรถนั้นได้มาจากลักษณะของรถแข่งทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของประตูที่มีลักษณะแบบต้องเปิดขึ้นไปและช่องดักอากาศในหลังคาระหว่างประตูปีก การล็อคฝา CFRP ทางด้านหน้าและด้านหลังอย่างรวดเร็ว เสาอากาศ 2 เสาติดตั้งบนหลังคาสำหรับสัญญาณวิทยุจาก Pit และ telemetry ที่แยกช่องดักอากาศใต้ลิ้นด้านหน้า หรือล้อแบบ no-profile racing slick ขนาด 19 นิ้ว พร้อมด้วยตัวล็อคล้อตรงกลาง ต่างทำให้รถนั้นโดดเด่นและชัดเจนว่าเป็นรถที่ใช้ในการทดลอง สำหรับการปฎิบัติการแข่งอย่างแท้จริงภายในนั้นตรงกันข้ามกับแนวคิดของรถ 918 สปายเดอร์ (918 Spyder) ซึ่งปราศจากเครื่องตกแต่งที่สร้างบรรยากาศในการแข่งขันแบบ predominates เบาะนั่งเป็นแบบ bucket seat ครอบคลุมด้วยหนังสีน้ำตาล เพื่อแสดงให้เห็นถึงสัญลักษณ์ของการขับขี่โดยสุภาพบุรุษ การแสดงผลเกียร์แบบกะพริบบนพวงมาลัยแบบรถแข่งและแสดงในคอลัมน์การแสดงผลพวงมาลัยบนหน้าจอของผู้ขับขี่ ด้วยคอนโซลกลางที่โดดเด่นทันสมัยที่เข้ามาแทนที่ลักษณะของความเป็นนิยายและโลกของอนาคตอีกทั้งยังสามารถควบคุมและใช้งานได้ด้วยระบบสัมผัสจากแนวคิดรถต้นแบบ 918 สปายเดอร์อีกด้วย ห้องโดยสารของ 918 RSR นั้นถูกแยกออกโดยคอนโซลและคันโยกสวิทช์ต่างๆ แทนที่ที่นั่งที่สองด้วยการสะสมและควบคุมการทำงานของล้อช่วยแรงที่ด้านขวาของคอนโซล
ตัวสะสมและควบคุมการทำงานของล้อช่วยแรงเป็นระบบมอเตอร์ไฟฟ้ามีการหมุน เพื่อเก็บแรงและพลังงานที่ใช้ในการหมุนเวียนได้ถึง 36,000 รอบต่อนาที การชาร์จจะเกิดขึ้นเมื่อมอเตอร์ไฟฟ้า 2 ตัวบนเพลาหน้าเกิดกระบวนการทำงานแบบย้อนกลับขณะอยู่ในระหว่างการเบรคและทำการในลักษณะเป็นตัวสร้างขุมพลัง เพียงแค่การกดปุ่มผู้ขับขี่จะสามารถเรียกใช้พลังงานที่เก็บไว้ในตัวสะสมและควบคุมการ ทำงานของล้อช่วยแรงได้ทันทีและใช้งานได้ในระหว่างการเร่งความเร็วหรือทำการแซงในช่วงโค้งได้อีกด้วย ล้อช่วยแรงจะทำการเบรคด้วยรูปแบบสนามแม่เหล็กไฟฟ้าในกรณีนี้ที่เพิ่มปริมาณการจัดหาขุมพลังเพิ่มเติมถึง 2 x 75 กิโลวัตต์ ขุมพลังเพิ่มเติมนี้จะสามารถใช้ได้ประมาณ 8 วินาทีเมื่อระบบนั้นได้รับการชาร์จอย่างเต็มที่ และขุมพลังเพิ่มเติมในรุ่น 911 จีที3 อาร์ ไฮบริด(911 GT3 R Hybrid) ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากนั้น จะสามารถนำมาใช้ได้ในหลายรูปแบบหรือหลายลักษณะซึ่งขึ้นอยู่กับสถานะการขับขี่ในการแข่งขันนั่นเอง อาทิเช่น เมื่อทำการหยุดใน pit stops หรือการลดปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงในถังเพื่อลดน้ำหนักรถ เป็นต้น และด้วยรถ 918 อาร์เอสอาร์ (918 RSR) ใหม่ล่าสุดนี้ทำให้แนวคิดรถแข่งของไฮบริด ปอร์เช่ยกระดับขึ้นอย่างดีเยี่ยม อีกทั้งแนวคิดหลักการ “ประสิทธิภาพการทำงานอย่างอัจฉริยะของปอร์เช่” หรือ “Porsche Intelligent Performance จึงเสมือนกับการวิจัยเพื่อเพิ่มและพัฒนาประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องและมั่นคง ถึงแม้นจะอยู่ภายใต้สภาวะหรือเงื่อนไขในสนามแข่งรถ รอบเวลา การหยุดที่ pit และความน่าเชื่อถือ ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือการแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของปอร์เช่ที่มีมานานกว่า 60 ปี สุดท้ายหมายเลข 22 คือการฉลองการครบรอบของชัยชนะ ย้อนกลับไปในวันแห่งชัยชนะที่ได้มานั้นกลายมาเป็นตำนานให้กับปอร์เช่ในรายการการแข่งขัน Le Mans ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งที่เหนือความคาดหมายสำหรับแผนกรถแข่งของปอร์เช่ Dr. HelmutMarko และ Gijs Van Lennep คือ คนแรกที่ได้ข้ามเส้นชัยในการแข่งขัน 24 ชั่วโมงคลาสสิกในปี 1971 ซึ่งตำนานที่ได้ถูกจารึกไว้นี้เกิดขึ้นด้วยรถปอร์เช่รุ่น 917 short-tail coupe ที่ทำการวิ่งถึง 5,335.313 กิโลเมตร (3,325.21 ไมล์) มีความเร็วเฉลี่ยที่ 222.304 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (138.13 ไมล์ต่อชั่วโมง) ซึ่งสถิตินี้ไม่มีใครสามารถทำลายได้ในรอบ 39 ปีจนถึงปี 2010 ในขณะที่ 917 ในสี Martini ได้กลายเป็นตำนานจนถึงวันนี้อีกทั้งยังถือว่าได้สร้างมาตรฐานใหม่สำหรับรถปอร์เช่ที่มีน้ำหนักเบาด้วยเช่นเดียวกัน สำหรับราคาซื้อขายในบ้านเรายังไม่มีข้อมูล คงจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง ถึงจะมีการเปิดตัวในเชิงพานิชย์ เพราะขณะนี้ยังถือว่าเป็นรถยนต์ต้นแบบอยู่ครับ เดาเอาว่าราคาคงจะบาดใจเศรษฐีน้ำมันแน่ๆ แต่หากใครคิดจะนำมาใช้ในเมืองไทย ต้องคิดให้หนักๆนะครับว่าจะหาถนนที่ไหนวิ่งดี..
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น