Subscribe

RSS Feed (xml)

Powered By

Skin Design:
Free Blogger Skins

Powered by Blogger

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ปอร์เช่ 918 RSR รถแข่ง เครื่องไฮบริด


สตุ้ดการ์ด. ปอร์เช่ เอจี สามารถดำเนินการขยายประสิทธิภาพของสมรรถนะรถยนต์และประสิทธิภาพสมรรถนะระดับสูงของรถให้มีความเหนือชั้นขึ้นไปอีกผ่านการพัฒนาเทคโนโลยีไฮบริดอย่างเข้มข้น ปอร์เช่ 918 อาร์เอสอาร์ (Porsche 918 RSR) คือรถยนต์สปอร์ตระดับพรีเมี่ยมที่ถือได้ว่าเป็นการนำเสนอความสำเร็จของแนวคิดไฮบริดในปี 2010 เลยทีเดียว ด้วยที่นั่ง 2 ที่นั่ง เครื่องยนต์วางกลางแบบคูเป้นี้เอง คือสิ่งที่ 918 อาร์เอสอาร์ (918 RSR) แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอะไรจะเกิดขึ้นเมื่อติดตั้งเทคโนโลยีไฮบริดในรุ่น 911 จีที3 อาร์ (911 GT3 R) เข้าไปพร้อมกับการผสมผสานการออกแบบของ 918 สปายเดอร์ (918 Spyder) ได้อย่างลงตัว ผลลัพธ์ที่ได้คือการแสดงให้เห็นถึงความทันสมัยที่บ่งบอกถึงนวัตกรรม รถยนต์ซุปเปอร์สปอร์ตที่เหนือชั้นนั่นเอง ด้วยการสะสมและควบคุมการทำงานของล้อช่วยแรงที่มีประสิทธิภาพทำให้ 911 จีที3 อาร์ (911 GT3 R) รถแข่งเครื่องยนต์ไฮบริดสามารถพิสูจน์ให้เห็นได้ว่ารถแข่งคันนี้คือแม่เหล็กที่ดึงดูดความสนใจจาก ผู้ชมทั่วโลกได้อย่างดีเยี่ยมในสนาม Nürburgring Nordschleife ระหว่างการแข่งขันรายการ American Le Mans Series (ALMS) ใน Road Atlanta/USA และ ILMC ในจูไห่ของจีน 911 จีที3 อาร์ ไฮบริด (911 GT3 R Hybrid) หรือที่กล่าวถึงภายในว่า “Race Lab” นี้อันที่จริงแล้วถือได้ว่าเป็นประสิทธิภาพที่เหนือชั้นและทะลุความคาดหวังของมอเตอร์สปอร์ตปอร์เช่อีกด้วย ความสามารถในการแข่งขัน ความน่าเชื่อถือในระดับสูง การประหยัดน้ำมัน ผสมผสานรวมกับประสิทธิภาพและสมรรถนะที่ดีเยี่ยมนี้ได้มาจากพื้นฐานแนวคิดของช่างเทคนิคปอร์เช่ในการสร้างขุมพลังที่เพิ่มเติมให้กับรถยนต์ในลักษณะที่ชาญฉลาดนั่นเอง 911 จีที3 อาร์ ไฮบริด (911 GT3 R Hybrid) ได้รับขุมพลังเพิ่มเติมจากการเปลี่ยนแปลงของตัวรถเองเมื่อทำการเบรคอีกด้วย และตอนนี้ปอร์เช่ก็ได้ถ่ายเทเทคโนโลยีที่เหนือชั้นนี้เข้าสู่เครื่องยนต์วางกลางคูเป้ 918 อาร์เอสอาร์ (918 RSR) รถแข่งมอเตอร์สปอร์ตของแนวคิด 918 Spyder (918 สปายเดอร์) แล้ว นักออกแบบของปอร์เช่ได้สร้างความเชื่อมโยงจากประเพณีและวัฒนธรรมที่จัดตั้งขึ้นของรถแข่งระยะไกลของปอร์เช่คลาสสิก เช่นรุ่น 908 Longtable Coupe (1969) และ 917 Short-tail coupe (1971) เข้ากับแนวคิดล้ำสมัยใหม่ของหลักปรัชญา "รูปแบบตามฟังก์ชั่น" ได้อย่างลงตัว เส้นสายของตัวรถที่สง่างามใน 918 อาร์เอสอาร์ (918 RSR) ได้ถ่ายเทและเป็นเส้นสายที่เชื่อมโยงต่อเนื่องอย่างโดดเด่นตั้งแต่ส่วนโค้งของฐานล้อที่ทรงพลัง ช่องดักลมที่มีความคล่องตัว และห้องโดยสารที่โดดเด่นได้อย่างลงตัว ช่องลมของล้อที่มองเห็นได้ระหว่าง RAM ของท่อไอดีและสปอยเลอร์ด้านหลังนั้นมีขนาดตามหลักของ อาร์เอส สปายเดอร์ (RS Spyder) ซึ่งเน้นการทำงานแบบห้องปฏิบัติการของรถแข่งเช่นเดียวกัน สีใหม่ "liquid metal chrome blue”ได้รับการสร้างขึ้นตามเส้นสายส่วนโค้งของรถ คาลิปเปอร์เบรคและเส้นยาวของตัวรถนั้นเป็นสีส้ม Porsche Hybrid ซึ่งเป็นสีรูปแบบเฉพาะที่เน้นการสร้าง สัมผัสที่โดดเด่นให้กับรถได้อย่างงดงามและลงตัวเทคโนโลยีของรถแข่งได้ถูกนำมาใช้เพิ่มเติมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ทำให้รถมีน้ำหนักที่เบาโดยการใช้พลาสติกแบบ Carbon Fibre Reinforced Plastic (CFRP)


เครื่องยนต์แบบ V8 ยังได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมในเรื่องของระบบการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงโดยตรงของรถแข่ง RS Spyder ที่ประสบความสำเร็จอีกด้วยเช่นเดียวกันและในตอนนี้ขุมพลังของเครื่องยนต์ที่แม่นยำใน 918 อาร์เอสอาร์ (918 RSR) นั้นมีถึง 563 แรงม้าที่รอบเครื่องยนต์ 10,300 รอบต่อนาที มอเตอร์ไฟฟ้าบนสองล้อหน้านั้นส่งกำลังถึง 75 กิโลวัตต์ ในแต่ละด้าน เช่นส่งกำลังรวม 150 กิโลวัตต์ที่กำลังขับสูงสุด 767 แรงม้า ขุมพลังจะได้รับเพิ่มเติมจากการเบรคและเก็บไว้ในตัวเก็บสะสมของล้อช่วยแรงได้อย่างดีเยี่ยม มอเตอร์ไฟฟ้าทั้ง 2 ตัวของ 918 อาร์เอสอาร์ (918 RSR) อำนวยฟังก์ชั่นการกระจายแรงบิด ซึ่งเป็นแรงบิดแปรผันไปยังเพลาหน้า และสิ่งนี้จะช่วยเพิ่มความคล่องตัวและปรับปรุงการตอบสนองของพวงมาลัยได้เป็นอย่างดี ด้านเพลาหลังเครื่องยนต์วางกลางได้ถูกนำมารวมกับการส่งผ่านกำลังแบบรถแข่งบนพื้นฐานของรถแข่งอาร์เอส สปายเดอร์ (RS Spyder) ซึ่งเป็นการพัฒนาเกียร์ 6 จังหวะให้มีการส่งผ่านกำลังที่รวดเร็วและแม่นยำ อีกทั้งยังติดตั้งเพลาตามยาวและฟันเกียร์จะทำงานโดยการใช้ก้าน shift paddles หลังพวงมาลัยรถแข่งนั่นเอง อุปกรณ์การทำงานต่างๆ ของรถนั้นได้มาจากลักษณะของรถแข่งทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของประตูที่มีลักษณะแบบต้องเปิดขึ้นไปและช่องดักอากาศในหลังคาระหว่างประตูปีก การล็อคฝา CFRP ทางด้านหน้าและด้านหลังอย่างรวดเร็ว เสาอากาศ 2 เสาติดตั้งบนหลังคาสำหรับสัญญาณวิทยุจาก Pit และ telemetry ที่แยกช่องดักอากาศใต้ลิ้นด้านหน้า หรือล้อแบบ no-profile racing slick ขนาด 19 นิ้ว พร้อมด้วยตัวล็อคล้อตรงกลาง ต่างทำให้รถนั้นโดดเด่นและชัดเจนว่าเป็นรถที่ใช้ในการทดลอง สำหรับการปฎิบัติการแข่งอย่างแท้จริงภายในนั้นตรงกันข้ามกับแนวคิดของรถ 918 สปายเดอร์ (918 Spyder) ซึ่งปราศจากเครื่องตกแต่งที่สร้างบรรยากาศในการแข่งขันแบบ predominates เบาะนั่งเป็นแบบ bucket seat ครอบคลุมด้วยหนังสีน้ำตาล เพื่อแสดงให้เห็นถึงสัญลักษณ์ของการขับขี่โดยสุภาพบุรุษ การแสดงผลเกียร์แบบกะพริบบนพวงมาลัยแบบรถแข่งและแสดงในคอลัมน์การแสดงผลพวงมาลัยบนหน้าจอของผู้ขับขี่ ด้วยคอนโซลกลางที่โดดเด่นทันสมัยที่เข้ามาแทนที่ลักษณะของความเป็นนิยายและโลกของอนาคตอีกทั้งยังสามารถควบคุมและใช้งานได้ด้วยระบบสัมผัสจากแนวคิดรถต้นแบบ 918 สปายเดอร์อีกด้วย ห้องโดยสารของ 918 RSR นั้นถูกแยกออกโดยคอนโซลและคันโยกสวิทช์ต่างๆ แทนที่ที่นั่งที่สองด้วยการสะสมและควบคุมการทำงานของล้อช่วยแรงที่ด้านขวาของคอนโซล



ตัวสะสมและควบคุมการทำงานของล้อช่วยแรงเป็นระบบมอเตอร์ไฟฟ้ามีการหมุน เพื่อเก็บแรงและพลังงานที่ใช้ในการหมุนเวียนได้ถึง 36,000 รอบต่อนาที การชาร์จจะเกิดขึ้นเมื่อมอเตอร์ไฟฟ้า 2 ตัวบนเพลาหน้าเกิดกระบวนการทำงานแบบย้อนกลับขณะอยู่ในระหว่างการเบรคและทำการในลักษณะเป็นตัวสร้างขุมพลัง เพียงแค่การกดปุ่มผู้ขับขี่จะสามารถเรียกใช้พลังงานที่เก็บไว้ในตัวสะสมและควบคุมการ ทำงานของล้อช่วยแรงได้ทันทีและใช้งานได้ในระหว่างการเร่งความเร็วหรือทำการแซงในช่วงโค้งได้อีกด้วย ล้อช่วยแรงจะทำการเบรคด้วยรูปแบบสนามแม่เหล็กไฟฟ้าในกรณีนี้ที่เพิ่มปริมาณการจัดหาขุมพลังเพิ่มเติมถึง 2 x 75 กิโลวัตต์ ขุมพลังเพิ่มเติมนี้จะสามารถใช้ได้ประมาณ 8 วินาทีเมื่อระบบนั้นได้รับการชาร์จอย่างเต็มที่ และขุมพลังเพิ่มเติมในรุ่น 911 จีที3 อาร์ ไฮบริด(911 GT3 R Hybrid) ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากนั้น จะสามารถนำมาใช้ได้ในหลายรูปแบบหรือหลายลักษณะซึ่งขึ้นอยู่กับสถานะการขับขี่ในการแข่งขันนั่นเอง อาทิเช่น เมื่อทำการหยุดใน pit stops หรือการลดปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงในถังเพื่อลดน้ำหนักรถ เป็นต้น และด้วยรถ 918 อาร์เอสอาร์ (918 RSR) ใหม่ล่าสุดนี้ทำให้แนวคิดรถแข่งของไฮบริด ปอร์เช่ยกระดับขึ้นอย่างดีเยี่ยม อีกทั้งแนวคิดหลักการ “ประสิทธิภาพการทำงานอย่างอัจฉริยะของปอร์เช่” หรือ “Porsche Intelligent Performance จึงเสมือนกับการวิจัยเพื่อเพิ่มและพัฒนาประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องและมั่นคง ถึงแม้นจะอยู่ภายใต้สภาวะหรือเงื่อนไขในสนามแข่งรถ รอบเวลา การหยุดที่ pit และความน่าเชื่อถือ ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือการแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของปอร์เช่ที่มีมานานกว่า 60 ปี สุดท้ายหมายเลข 22 คือการฉลองการครบรอบของชัยชนะ ย้อนกลับไปในวันแห่งชัยชนะที่ได้มานั้นกลายมาเป็นตำนานให้กับปอร์เช่ในรายการการแข่งขัน Le Mans ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งที่เหนือความคาดหมายสำหรับแผนกรถแข่งของปอร์เช่ Dr. HelmutMarko และ Gijs Van Lennep คือ คนแรกที่ได้ข้ามเส้นชัยในการแข่งขัน 24 ชั่วโมงคลาสสิกในปี 1971 ซึ่งตำนานที่ได้ถูกจารึกไว้นี้เกิดขึ้นด้วยรถปอร์เช่รุ่น 917 short-tail coupe ที่ทำการวิ่งถึง 5,335.313 กิโลเมตร (3,325.21 ไมล์) มีความเร็วเฉลี่ยที่ 222.304 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (138.13 ไมล์ต่อชั่วโมง) ซึ่งสถิตินี้ไม่มีใครสามารถทำลายได้ในรอบ 39 ปีจนถึงปี 2010 ในขณะที่ 917 ในสี Martini ได้กลายเป็นตำนานจนถึงวันนี้อีกทั้งยังถือว่าได้สร้างมาตรฐานใหม่สำหรับรถปอร์เช่ที่มีน้ำหนักเบาด้วยเช่นเดียวกัน สำหรับราคาซื้อขายในบ้านเรายังไม่มีข้อมูล คงจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง ถึงจะมีการเปิดตัวในเชิงพานิชย์ เพราะขณะนี้ยังถือว่าเป็นรถยนต์ต้นแบบอยู่ครับ เดาเอาว่าราคาคงจะบาดใจเศรษฐีน้ำมันแน่ๆ แต่หากใครคิดจะนำมาใช้ในเมืองไทย ต้องคิดให้หนักๆนะครับว่าจะหาถนนที่ไหนวิ่งดี..

ปาเจโร สปอร์ต และ ไทรทัน เปิดโฉมใหม่ปลุกตลาดรถ


มิตซูบิชิ ปรับโฉมไทรทัน และปาเจโร สปอร์ต พร้อมออปชั่นเพียบ เน้นตอบความต้องการลูกค้าทั้ง รูปลักษณ์ สมรรถนะ ความปลอดภัย และประโยชน์ใช้สอย นอกจากสมรรถนะที่โดดเด่นตามสไตล์มิตซูบิชิแล้ว ทั้ง มิตซูบิชิ ปาเจโร สปอร์ตใหม่ และ มิตซูบิชิ ไทรทัน รุ่นใหม่ ยังมีรูปลักษณ์ และประโยชน์ใช้สอยที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด


 ปาเจโร สปอร์ตใหม่ รุ่นขับเคลื่อน 2 ล้อ ระบบเกียร์อัตโนมัติ 5 จังหวะ สนุกกับการขับขี่ได้ไม่รู้จบกับกับระบบ Sportronic ที่ให้คุณทะยานไปข้างหน้าได้อารมณ์สปอร์ต ทุกรุ่นเพิ่มแผงควบคุมระบบปรับอากาศด้านหลังแบบแยกอิสระและช่องแอร์สำหรับผู้โดยสารแถว 2 และ 3 ส่วนรุ่นทอป (GT) เพิ่มระบบควบคุมการเปลี่ยนเกียร์ที่พวงมาลัย (Paddle Shift) เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน นอกจากนี้ยังเพิ่มอุปกรณ์เสริมอื่นๆ ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้าอีกหลายรายการ รวมไปถึงการเพิ่มเติม “สีน้ำเงินเข้ม” เป็นสีมาตรฐานใหม่ พร้อมทั้งถือโอกาสนี้แนะนำ ปาเจโร สปอร์ต รุ่นเครื่องยนต์เบนซิน 2,400 ซีซี เกียร์ธรรมดา เป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้ลูกค้า โดยกำหนดราคาขายพิเศษเฉพาะช่วงเปิดตัวเริ่มต้นเพียง 899,000 บาท ขณะที่มิตซูบิชิ ไทรทันรุ่นปี 2012 จะเน้นรุ่นหลัก ได้แก่ เมกะแค็บ พลัส 178 แรงม้า มาพร้อมความโดดเด่นของสมรรถนะที่เป็นเยี่ยมของเครื่องยนต์ 2.5 วีจี เทอร์โบ ให้กำลังสูงสุดในเครื่องยนต์ระดับเดียวกัน 178 แรงม้า ซึ่งจะติดตั้งทั้งในรุ่นเมกะ แค็บ พลัส และ รุ่นดับเบิล แค็บ พลัส เกียร์ธรรมดา สำหรับผู้ขับขี่ที่ให้ความสำคัยกับสิ่งแวดล้อมน่าจะลงตัวกับรุ่นขับเคลื่อน 2 ล้อ ที่ยังมีสมรรถนะที่กระฉับกระเฉงด้วยเครื่องยนต์ 2.5 DI-D ไฮเปอร์ คอมมอนเรล ให้พละกำลังสูงสุด 128 แรงม้า รองรับมาตรฐานมลพิษระดับ 4 ของยุโรป เช่นเดียวกับ ไทรทัน ดับเบิ้ลแค็บพลัส รุ่นเกียร์อัตโนมัติ ได้รับการติดตั้งระบบเกียร์อัตโนมัติ 5 จังหวะ พร้อม Sportronic ให้ลูกค้าสามารถเลือกปรับเปลี่ยนเกียร์ได้ตามความ ในขณะที่รุ่นอื่นๆ ก็ได้มีการปรับเพิ่มอุปกรณ์มาตรฐานใหม่เพิ่มเติมเพื่อความลงตัวและประโยชน์ใช้สอยที่เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากเครื่องยนต์ดีเซลแล้ว บริษัทฯ ยังได้แนะนำเครื่องยนต์เบนซินซึ่งติดตั้งระบบซีเอ็นจี ทั้งในรุ่น ซิงเกิ้ลแค็บ เมกะแค็บ และดับเบิ้ลแค็บ ที่โดดเด่นในเรื่องของสมรรถนะและการประหยัดน้ำมันจากการเลือกใช้พลังงานได้ถึง 2 ระบบ ทั้งน้ำมันเบนซินแก๊สโซฮอล์ อี 20 และ ก๊าซธรรมชาติ ซีเอ็นจี จึงทำให้ได้ระยะทางในการขับขี่โดยรวมที่มากกว่าและประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี ซึ่งถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อรถยนต์ของลูกค้าในปัจจุบัน ทั้งนี้สืบเนื่องจากนโยบายลดภาษีรถยนต์คันแรกของรัฐบาลที่ประกาศไปเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมานั้น ในส่วนของลูกค้าที่สนใจซื้อรถยนต์มิตซูบิชิไทรทันทุกรุ่น รวมไปถึงรุ่นเครื่องยนต์เบนซิน ในช่วงระยะเวลาตามประกาศของรัฐบาลนั้นก็จะได้รับสิทธิ์คืนเงินภาษีสูงสุดถึง 91,000 บาท (ตามประกาศ ณ วันที่ 16 กันยายน 2554)