Subscribe

RSS Feed (xml)

Powered By

Skin Design:
Free Blogger Skins

Powered by Blogger

วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การพัฒนาการวงการรถยนต์เมืองไทยเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน

ทุกวันนี้ประเทศไทยเรามีการพัฒนาการในวงการรถยนต์เป็นไปอย่างรวดเร็วและด้วยยอด ขายรถยนต์ที่อยู่ในระดับแนวหน้าในกลุ่มอาเซียนและในฐานะที่เราเป็นประเทศ ที่กำลังมุ่งพัฒนาประเทศให้เป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมรถยนต์และได้รับความ เชื่อมั่นจากนักลงทุนให้เป็นฐานการผลิตรถยนต์ในกลุ่มอาเซียน ดูเหมือนประเทศไทยเราจะล้ำหน้าประเทศเพื่อนบ้านในประเทศ อาเซียน ด้วยกันไปหลายขุม แล้วเราเคยถามตัวเราเองหรือไม่ว่าแล้วประเทศเพื่อนบ้านของเราเขาใช้รถอะไร กัน ล่ะ หากเปรียบเทียบกับประเทศไทยเป็นอย่างไร
ผม มีข้อมูลบางส่วนและมุมมองของผมเองมานำเสนอในมุมมองที่แตกต่างดังนี้

1. ทำไมประเทศไทยจึงนิยมปิคอัพ มากกว่ารถประเภทอื่นๆ
ก่อนอื่นเราลองมาพิจารณา ข้อมูลภาษีสรรพสามิตของรถยนต์ที่ขายอยู่ในบ้านเรา ตามตารางด้านล่าง

ประเภทของรถยนต์และ %ภาษี สรรพสามิต

5.01 - รถยนต์นั่ง 35
(1.2) ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 2,400 ลูกบาศก์เซ็นติเมตร- 3000 41%
(1.3) ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร หรือ 48 %
(2) รถยนต์นั่งตรวจการณ์ (OFF-road Passenger Vchicle : OPV) 29 %
(3) รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก (Pink-upPassenger Vehicle : PPV) 18 %
(4) รถยนต์นั่งที่มีกระบะ (DOUBLECAB) 4 ประตู 12 %

5.02 - รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน10 คน
(1) ที่ผลิตสำเร็จรูป หรือที่ดัดแปลงมาจากรถยนต์กระบะหรือสิ่งใดๆ
(1.1) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 2,400 ลูกบาศก์เซ็นติเมตร 35 %
(1.2) ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 2,400 ลูกบาศก์เซนติเมตร 41 %
(2.1) ที่มีความจุของกระบอกสูบไม่เกิน 2,400 ลูกบาศก์เซ็นติเมตร 35 %
(2.2) ที่มีความจุของกระบอกสูบเกิน 2,400 ลูกบาศก์เซนติเมตร 41 %

5.9 (1) รถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถรวมน้ำหนัก ไม่เกิน 4000กิโล
(1.1) ซึ่งมีคุณลักษณะตามที่อธิบดีกรมสรรพสามิตประกาศกำหนด 3 %
(1.2) ซึ่งมีคุณลักษณะนอกจาก(1.1) 18 %

เรา จะพบว่ารถปิคอัพเป็นรถยนต์ประเภทเดียวที่เสียภาษีสรรพสามิตต่ำที่สุด เพียง3 % ซึ่งเป็นปัจจัยที่ ทำให้ค่ายรถยนต์แทบจะทุกๆค่ายใช้รถยนต์ปิคอัพเป็นหัวหอกในการทำตลาดมา มากกว่า 20 ปี จนกระทั่ง คนไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศ ที่ใช้รถปิคอัพมากที่สุดเป็นอันดับที่2ของโลก รองจาก ประเทศอเมริกา

แต่ ความเป็นจริงแล้วคนในประเทศเราใช้รถยนต์ผิดจุดประสงค์ กล่าวคือ ทุกวันนี้ คนส่วนใหญ่ใช้รถปิคอัพเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคลมากกว่าที่จะใช้ในการบรรทุก สินค้าจากการกเษตร หรือขนสินค้า ด้วยเหตุผลที่ว่า เป็นรถยนต์ที่ราคา ถูกที่สุดและเสียภาษีรายปีต่ำกว่ารถยนต์ประเภทอื่นๆ ซึ่งนี้เป็นเหตุผลให้ผู้ผลิตรถยนต์ ปิคอัพในเมืองไทยพยายามทุมทุนที่จะทำให้รถปิคอัพดูคล้ายรถยนต์นั่งให้มากที่ สุด และทำให้มี ห้องโดยสารที่เราเรียกว่า Cab กันทุกยี้ห้อเพื่อให้ผู้โดยสารสามารถเข้าไปนั่งโดยสารได้โดยการเก็บคองอเข่า กันตามอัตรภาพ
หลังจากที่มีการผลิตรถยนต์ปิคอัพที่มีcabออกมา ก็มีคนหัวใสทำหลังคาออกมาครอบด้านหลังแล้วทำเบาะให้กลายเป็นที่นั่ง ซึ่งไม่ได้ออกแบบที่นั่งแบบนี้ไม่ได้คำนึงถึงความปลอดภัย ในการโดยสารเลยแม้แต่นิดเดียวแล้วก็ขายจนร่ำรวยกันไปหลายราย
จนในช่วง 5ปีที่ผ่านมาเราจะเห็นได้ว่าเริ่มมีรถปิคอัพที่มี 4 ประตูออกมาวิ่งให้เห็นกันมากขึ้น ก็ด้วยภาษีที่เปลี่ยนแปลงลดลง เป็นมาเป็น12 % ซึ่งทำให้ราคาลดลงมาระดับหนึ่งจนเป็นทางเลือกที่ดูว่าจะดีขึ้นอีกระดับ
หาก เราเหลือบตามองประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนของเราที่มี วิถีชีวิตคล้ายๆ กับคนไทยคือคนส่วนใหญ่เป็น เกษตรกรและ มีวิถีชีวิตคล้ายกันกับคนในประเทศเราแล้วพวก เขานิยมใช้รถยนต์ประเภทไหนกัน

1. อินโดนีเซีย
อิน ดิเซียเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดคือ 220ล้านคน มากกว่าประเทศไทย 3 เท่าตัว มีระบบการจารจรเหมือนกับประเทศไทย คือพวงมาลัย อยู่ ด้านขวาของรถยนต์
รถยนต์ ที่ขายดีที่สุด ในประเทศนี้ก็คือ TOYOTA Kijang ซึ่งเป็นรถยนต์นั่งชนิด 7 ที่นั่ง ที่ใช้เครื่องยนต์ ดีเซลขนาด 2.4 ลิตร ชนิดเดียวกับที่เคยใส่ในรถปิคอัพ บ้านเรา และเบนซินขนาด 2.0 ลิตร รถยนต์ ประเภทนี้ ใช้ระบบรองรับคล้ายกับรถปิคอัพบ้านเราแต่ออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งาน เป็นรถยนต์นั่ง และที่สำคัญรถประเภทนี้สามารถพับเบาะที่นั่งให้สามารถใช้ในการบรรทุกของได้ ด้วย
ราคาขายในประเทศอินโดนีเซีย อยู่ที่ 450000 ถึง 7500000 บาท ขึ้นอยู่กับออฟชั่นที่เพิ่มเข้าไป

2. ฟิลิฟปินส์
ประเทศ ฟิลิฟปินส์ เป็นประเทศที่มีประชากร80 ล้านคน ใกล้เคียงกับประเทศไทยเราแต่มีระบบการจารจรต่างจากประเทศไทย คือพวงมาลัย อยู่ ด้านซ้ายของรถยนต์
รถยนต์ขายดีที่สุดในประเทศนี้ก็เป็นรถยนต์จาก ค่าย TOYOTA ซึ่งมีลักษณะเหมือนกันกับ KIJANG แต่ใช้ชื่อว่า Toyota Tamaraw หรือ อีกชื่อหนึ่งคือ RAVO โดยมีอุปกรณ์ และรูปร่างคล้ายคลึงกันกับ KIJANG ในอินโดนีเซีย
ราคาขายรถยนต์ รุ่นนี้ ในประเทศ ฟิลิฟปินส์ อยู่ ที่ 630,000-797,000 เปโซ ก็ประมาณ 550000-720000 บาท
ลอง พิจารณารูปลักษณ์ภายนอกและภายในของรถยนต์รุ่นนี้ ว่าเขาออกแบได้ดีและเหมาะสมกับการใช้งานของครอบครัวที่มีสมาชิก 5-6 คนที่ต้องเดินทางพร้อมกันบ่อยๆ แล้วราคาก็ไม่ได้ แตกต่างจาก ปิคอัพในบ้านเราเลย นอกจากนี้ รถรุ่นเดียวกันก็มีการทำออกมาเป็นปิคอัพด้วย เพื่อใช้บรรทุกสินค้า

3. มาเลเซีย
ประเทศ มาเลเซีย เป็นประเทศที่มีประชากร 22 ล้านคน มีระบบการจารจรเหมือนกับประเทศไทย คือพวงมาลัย อยู่ ด้านซ้ายของรถยนต์
รถ ยนต์ขายดีที่สุดในประเทศนี้ก็เป็นรถยนต์จาก ค่ายรถยนต์ ที่เกิดจากการทุ่มทุนสร้างของรัฐบาลของเขาเองให้เป็นรถยนต์ แห่งชาติ คือ ยี้ห้อ โปรตรอน ซาก้า และ เปอร์ดัว
โดยรถยนต์ที่ขายดีที่สุดในประเทศนี้คือ Proton Wira ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกันกับรถ มิตซูบิชิ แลนเซอร์ ในบ้านเรา
และอีกยี้ห้อหนึ่งก็คือ เปอร์ดัว รถยนต์รุ่นนี้ เป็นการจับมือร่วมกับไดฮัทสุ โดยพัฒนาออกมาหลากหลาบรุ่นโดยเน้นให้เป็นรถ ซิตี้คาร์
ราคา ขายรถยนต์ ในประเทศ มาเลเซีย เริ่มต้น ที่ 250,000 บาท สำหรับรถขนาดเล็ก และในมาเลเซียเองก็มีรถยนต์ประเภทเดียวกันกับอินโดนีเซียและฟิลิฟปินส์ ทำตลาดอยู่เช่นกัน
แล้วเขาใช้รถอะไรในการบรรทุกของหรอสินค้าทางกัน ในประเทศเพื่อนบ้านชองเราเองก็มีรถปิคอัพเหมือนกันแต่ลักษณะของรถเหล่านี้ มุ่งเน้ประโยชน์ ในการบรรทุกจริงๆไม่ใช่ทำออกมาเพื่อเป็นรถยนต์นั่ง ลองมาดูลักษณะของรถปิคอัพที่เขาใช้กันดังนี้ โดยรถยนต์ตามรูปนี้เป็นรถยนต์ปิคอัพขนาด 1 ตัน จากค่าย เกาหลี ยี้ห้อเกียมอเตอร์ และ MITSUBISHI ซึ่งค่ายรถยนต์อื่นอื่นเองก็มีรถปิคอัพแบบเดียวกันนี้จำหน่ายอยู่ในประเทศ เพื่อนบ้านของเราเช่นกัน

ส่วนในประเทศอื่นๆที่ไม่ได้กล่าวถึงเช่นลาว พม่า กัมพูชา หรือ เวียดนามประเทศเหล่านี้ ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการใช้รถยนต์ด้วยเหตุผลเนื่องจากประชากรยังมีราย ได้ไม่มากพอและถนนหนทางยังไม่ได้รับการพัฒามากพอที่จะทำให้คนในประเทศนิยม ใช้รถส่วนตัวแต่ก็ไม่มีประเทศไหนที่มีแนวทางการใช้รถแบบคนไทยเลย คือ ปิคอัพมี Cab

จากข้อมูลที่นำมาเสนอ หากเราหันมามองตลาดรถยนต์บ้านเราทุกวันนี้ซึ่งคนส่วนใหญ่มีความต้องการรถ ยนต์นั่งหรือรถที่สามารถที่จะพาสมาชิกในครอบครัวเดินทางไปยังที่ต่างๆ แต่ไม่ค่อยจะมีทางเลือกมากนักเพราะเนื่องจากราคารถยนต์ที่สูงมากเกินความ เป็นจริงอย่างมากเช่นรถยนต์นั่งขนาด1600 ซีซีหรือรถปิคอัพสี่ปะตูที่มีผลิตออกมาขายในบ้านเราราคาเริ่มต้นก็ปาเข้าไป 7-8 แสนแล้วหรือรถยนต์รถยนต์ประเภทที่ดัดแปลงมาจากปิคอัพที่สามารถบรรทุกผู้ โดยสารได้ 5-7 คน ล้วนแล้วมีราคาเกือบหนึ่งล้านบาททั้งนั้น ก็เลยต้องเลือกใช้ปิคอัพแล้วนำหลังคาไฟเบอร์หรือหลังคาเหล็กมาใส่ เพราะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดที่มี และสามารถเลือกได้
นอกจากรถยนต์จาก ค่ายTOYOTA ที่ผมนำมากล่าวถึงยังมีรถยนต์ค่ายต่างๆ ก็มีรถชนิดนี้ หรือ ที่เรียกกันว่า AUV (ASIAN UTILITY VEHICLE )ขายอยู่ในตลาดเพื่อนบ้านเราเกือบทุกประเทศ แต่ก็ไม่เคยมีค่ายใด นำรถยนต์เหล่านี้มาให้คนไทยได้สัมผัสกันเลยเช่นตัวอย่างรถที่นำมาให้ชมคือ ISUZU PANTER หรือ MITSUBISHI KUDA

จากที่ได้นำเสนอมาสิ่งที่ผมอยากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมองเห็นและหาแนวทางในทางแก้ไขและพัฒนาวงการรถยนต์ในประเทศเราดังนี้

จาก ข้อมูลเบื้องต้นผมคิดว่าผู้ที่เกี่ยวข้องควรหันมาพิจารณาและแก้ไขในสิ่ง เหล่านี้ เพื่อให้วงการรถยนต์บ้านเราพัฒนาตามเพื่อนบ้านของเราให้ทัน ในด้านความคิดในการใช้รถยนต์

1 . เลิกการแบ่งแยกการเก็บภาษีตามชนิดของรถยนต์หรือจำนวนที่นั่งหรือระบบรองรับ ว่าเป็นแหนบหรือคอยล์สปริงแต่เปลี่ยนวิธีการจัดเก็บเป็นตามขนาดความจุของ เครื่องยนต์ หรืออัตราการบริโภคน้ำมันของรถยนต์ทั่งนี้เพื่อจุดประสงค์เพื่อ
1.1 คนไทยทุกคนสามารถเลือกรถยนต์ที่เหมาะสมกับการใช้งานในราคาที่เหมาะสม เช่นมีครอบครัวที่ต้องเดินทางด้วยกันบ่อยๆมากกว่า 5-7 คนก็น่าที่จะเลือกรถยนต์ขนาด 7 ที่นั่งได้ในระดับราคาที่ใกล้เคียงกับรถปิคอัพในปัจจุบันจะได้ไม่ต้อง มานั่งอัดกันในแค็บเล็กๆ หรือต้องไปเสียเงินเพิ่มเพื่อต่อหลังคาหรือเสี่ยงกับการนั่งบนหลังกระบะหลัง

1.2 หาก จักเก็บภาษีตามอัตราการบริโภคน้ำมันของรถยนต์ค่ายรถยนต์ที่มีอยู่จะได้นำ เทคโนโลยีที่ดีจริงๆเช่นพัฒนาเครื่องยนต์ขนาดเล็กที่มีสมรรถนะสูงมาใส่ในรถ เช่นเครื่องยนต์ดีเซล common rail ขนาดไม่เกิน สองพัน ซีซี ที่สามารถใช้น้ำมันได้อย่าประหยัดมาแข่งขันแทนเครื่องยนต์ที่มีแต่จะใหญ่ ขึ้นทุกวันๆ เพาะเครื่องยนต์ที่ใหญ่เกินความต้องการและนำเสนอความแรงที่ล้วนแล้วแต่เป็น ต้นต่อของอุบัติเหตุร้ายแรงที่เราเห็นกันทุกๆวัน
ทั้งนี้ยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันกันในการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการประหยัดน้ำมันกันมากขึ้นอีกด้วย
1.3 หากเรามุ่งที่จะพัฒนาประเทศให้เป็นผู้ผลิตรถยนต์สิ่งที่สำคัญสิ่งหนึ่ง ก็คือการเปิดโลกทัศน์ของผู้ใช้รถยนต์ในประเทศจะทำให้เกิดแนวทางการพัฒนาการ ออกแบบรถยนต์ที่เหมาะสมกับคนไทยและคนในภูมิภาคอาเซียนของเราพร้อมกับทำให้ เราสมารถผลิตรถยนต์ในราคาที่สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยซึ่งยังคงมีความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหรรมรถยนต์ อยู่ในขณะนี้สามารถออกแบบและพัฒนาเพื่อผลิตรถยนต์ของคนเอเชียเพื่อขายให้กับ ประเทศเพื่อนบ้านได้ในอนาคต
สิ่งหนึ่งที่เราไม่ควรลืมหรอมองข้ามก็คือ ทุกๆประเทศในอาเซียนล้วนแล้วแต่เป็นผู้บริโภคเทคโนโลยีและพลังงานด้วยกัน ทั้งหมด หากประเทศไทยเราสามารถผลิตรถยนต์ที่สามารถใช้น้ำมันได้ มากกว่า18 กิโลเมตรต่อ 1 ลิตร ที่ความเร็วเฉลี่ย 100กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง และยังสามารถ บรรทุกผู้โดยสารได้ 5ถึง7คนและสามารถปรับเปลี่ยนเป็นรถบรรทุกของได้ ในบางโอกาสที่ต้องการแน่นอนเลยว่าตลาดในประเทศอาเซียนที่กำลังเติบโตภายใน 10 ปีข้างหน้ากำลังรอเราอยู่ยกเว้นแต่เราจะยังคงเป็นเพียงผู้รับจ้างผลิตรถ ปิคอัพต่อไป

2 ออกกฎหมายหรือบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่แล้วเกี่ยวกับการห้ามการโดยสารบนกระบะที่เปิดโล่งบนถนน หรือ ทางหลวง
ทุก วันนี้เรายังสามารถเห็นคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่คำนึงถึงความไม่ปลอดภัยในการ โดยสารรถยนต์โดยการนั่งโดยสารบนกระบะหลังบนทางหลวงต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่นำเอาถังบรรจุน้ำแล้วออกมาวิ่งสดน้ำกันตามถนนซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการ เสียชีวิตเป็นจำนวนมากทุกๆปี
ในเรื่องการโดยสารบนกระบะหลังที่เปิดโล่ง ในประเทศเพื่อนบ้านของเราเช่น ฟิลปปินส์ เขามีกฎหมายที่เข็มงวดกันมานานแล้วและเขาปลูกฝังให้กับเด็กๆในประเทศของเขา โดยห้ามนั่งโดยสารบนกระบะที่เปิดโล่งโดยเด็ดขาด ผมว่าเขากล้าที่จะออกกฏหมายเรื่องนี้ออกมาและบังคับใช้อย่างเข้มงวดก็เพราะ รัฐบาลลของเขาคำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตของคนในประเทศของเขา

3 อยาก ให้รัฐได้โปรดยกเลิกการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อนที่แสนจะล้าหลัง และสุดแสนจะเชยแสนเชย เช่นการจัดเก็บภาษี สรรพสามิตในระบบปรับอากาศรถยนต์ และแบบเตอรี่ เพราะชิ้นส่วนเหล่านี้ไม่ใช่สินค้าฟุ่มเฟือยเลยแม้แต่น้อยแต่มันเป็นชิ้น ส่วนที่ความจำเป็นในรถยนต์ จริงๆ ผมเองก็ไม่รู้เหมือนกันว่าข้าราชการสมัยใดหรือ ผู้แทนของเราคนใดเป็นคนคิดว่าระบบแอร์หรือแบตเตอรี่เป็นสิ่งที่ฟุ่มเฟือยจน ต้องเข้าไปจัดเก็บาษีสรรพสามิต สงสัยท่านเหล่านี้คงใช้รถยนต์ที่สตาร์ท ด้วยมือหมุนแล้วก็ไม่ต้องเปิดแอร์เพราะขับกันอยู่ในท้องนาอย่างเดียว

4 หาก จะพัฒนาประเทศเป็นประเทศผู้ผลิตรถยนต์ เราควรคิดหาทางที่จะเพิ่มโทษสำหรับผู้ที่มีอาชีพในการโจรกรรมรถยนต์ให้สูง ขึ้นเพื่อเป็นการทำให้ผู้คนที่ต้องการซื้อรถอุ่นใจว่าหากมีใครที่กล้าที่จะ ขโมยรถเขาควรเสี่ยงกับโทษจำคุกมากกว่า 20ปี เพราะโทษที่มีอยู่ทุกวันนี้มันเบาจนคุ้มที่จะเสี่ยงเป็นโจรขโมยรถ

5 กำหนด ประเภทรถยนต์บรรทุกให้ชัดเจนเพื่อแยกแยะชนิดของรถบรรทุกและรถยนต์นั่งให้ ชัดเจนมากขึ้นไม่ควรให้เกิดช่องโหว ที่ทำให้เกิดการพัฒนารถยนต์แบบแหว่งๆกระท่อนกระแท่นแบบที่ผ่านมาในอดีต
แต่ การเปลี่ยนแปลง เหล่านี้ ก็คงต้องอาศัยความกล้าอย่างมากของรัฐบาลในการที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้ เพราะมันเป็นสิ่งที่ทับถมกันมานานและกระทบกับภาษีซึ่งเป็นรายได้ของรัฐบาล แตผมก็หวังว่าจากข้อมูลที่ได้นำเสนอมาสามารถที่จะไปสะกิดใจท่านผู้นำประเทศ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลายให้หันมามองว่าหากเรามุ่งที่จะพัฒนาประเทศไทย ของเราให้เป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมรถยนต์ในอาเซียน เราควรหันมามองปัจจัยที่ยังเป็นอุปสรรคในการพัฒนาหรือยังปิดกั้นตลาดใน ประเทศตัวเองอีกทั้งยังปิดกั้นการพัฒนาฝีมือในการผลิตรถยนต์ของคนไทย เพราะว่าไม่มีประเทศที่เป็นผู้นำด้านรถยนต์ประเทศไหนที่คนส่วนใหญ่ในประเทศ ของเขารู้จักแค่ปิครถปิคอัพ หรือมีไม่มีปัญญาที่จะซื้อรถที่เหมาะสมกับการใช้งานของตนเองจริงๆมาใช้เพราะ ติดอยู่ที่ภาษีที่ทำให้รถยนต์ถูกและแพงต่างกัน มากซึ่งไม่ใช่เกิดจากสมรรถนะ ชนิด หรือ ลักษณะ คุณภาพ ของรถยนต์แต่เลือกเพราะมันเสียภาษีถูกดี
ตัวผมเองยังมีความหวังว่าผม อาจจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงนี้ก่อนที่ประเทศไทยเราจะล้าหลังทางความคิด เกี่ยวกับการใช้รถยนต์หากเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านของเราไปมากกว่า นี้
เรียบเรียงโดย สมเกียรติ

2 ความคิดเห็น:

  1. ประเทศไืทยเราน่าจะพิจารณาทบทวนปรับปรุงเรื่องโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและมาตรการด้านกฎหมายเพื่อคนไทยจะได้ใช้รถที่ดีมีคุณภาพและราคาสมเหตุสมผลบ้าง

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ27 กรกฎาคม 2554 เวลา 23:33

    1. เลิกสนับสนุนภาษีดีเซลได้แล้ว
    2. เลิกซื้อรถตั้งราคาเกินตัว

    ตอบลบ