Subscribe

RSS Feed (xml)

Powered By

Skin Design:
Free Blogger Skins

Powered by Blogger

วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2552

"ยาง" จุดเริ่มต้นของความปลอดภัย



ยางรถยนต์คือปราการแรกของความปลอดภัยในการขับขี่ หากเครื่องไม่ติดก็ไปไม่ได้ แต่หากเครื่องติดไปได้แล้วยางไม่ดี โอกาสเสี่ยงต่ออุบัติเหตุมีสูง จะนำมาซึ่งความสูญเสียอย่างไม่น่าที่จะเป็น ดังนั้นผู้ใช้รถจึงต้องให้ความสำคัญกับยาง ในอันดับต้นๆ หมั่นตรวจตราดอกยาง เนื้อยาง ขอบล้อ อย่างสม่ำเสมอ พบเห็นความผิดปกติของยาง อย่างนิ่งนอนใจหรือฝืนใช้ มิฉะนั้นท่านจะต้องเสียใจภายหลังครับ วันนี้มีข้อแนะนำการดูแลยางรถยนต์มาฝากกันครับ รู้แล้วก็ลองไปดูยางรถของท่านก่อนออกรถนะครับ และขอให้เดินทางโดยปลอดภัยในทุกเส้นทางครับ

1. รัน - อินต้องมีการรัน-อิน ยางใหม่ก็เช่นกันในช่วง 100 - 200 กิโลเมตรแรก ควรใช้ความเร็วไม่เกิน 80 - 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง เพื่อให้โครงสร้างแก้มยาง และหน้ายางมีการปรับตัว เพราะยางทุกเส้น ถูกผลิตออกมาให้รับกับมุมแคมเบอร์ของล้อเท่ากับ 0 คือตั้งฉากกับพื้น แต่รถยนต์ทุกคันไม่ได้มีมุมแคมเบอร์เท่ากับ 0 มีทั้งแบะหรือหุบ ในช่วงแรกจึงต้องใช้เวลาให้หน้ายางสึกปรับตัวรับกับศูนย์ล้อ
2. ถ่วงล้อยางต้องหมุนนับพันรอบต่อนาที โดยเฉพาะล้อคู่หน้าที่มีการเลี้ยงด้วยจึงต้องมีการถ่วงสมดุล เพราะถ้าล้อคู่หน้าไมได้สมดุล มักมีอาการพวงมาลัยสั่นในบางช่วงความเร็ว และทำให้ลูกปืนล้อหรือช่วงล่างมีอายุการใช้งานสั้นลงด้วย เมื่อเปลี่ยนยางใหม่ หรือถอดยางออกจากระทะล้อ เพื่อสลับยางหรือเปลี่ยนยาง ต้องมีการถ่วงสมดุลใหม่เสมอ เมื่อใช้งานไปสัก 40 - 50 % ของอายุการใช้งานยาง ควรถอดมาถ่วงสมดุล เพราะการสึกหรออาจไม่สม่ำเสมอกัน ถ้าใช้วิธีถอดกระทะล้อออกมาถ่วงสมดุล แล้วยังมีอาการสั่นของพวงมาลัยบางช่วงความเร็ว ต้องเปลี่ยนไปใช้วิธีถ่วงแบบจี้ คือ ไม่ต้องถอดล้อออกจากรถยนต์เป็นการถ่วงสมดุลกระทะล้อ , ยาง , จานดิสก์เบรก , เพลาขับ , ลูกปืนล้อ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง แต่โดยทั่วไป การถอดล้ออกมาถ่วงภายนอกก็เพียงพอแล้ว

3. ลมยางแรงดันลมมาตรฐานของยางรถยนต์ทุกรุ่นส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 28 - 32 ปอนด์/ตารางนิ้ว (PSI) สำหรับรถยนต์นั่ง การวัดแรงดันลมยาง ต้องใช้มาตรฐานที่ได้มาตรฐานและวัดตอนที่ยางเย็นหรือร้อนไม่มาก หากละเลยการตรวจสอบลมยาง มักเกิดปัญหาแรงดันลมน้อย - ยางอ่อน ทำให้แก้มยางมีการบิดตัวมากและร้อนง่าย สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากขึ้น และอัตราเร่งลดลง จากแรงต้านการหมุนที่เพิ่มขึ้น และหากลมยางอ่อนมากๆ จะทำให้โครงสร้างภายในเสื่อมสภาพเร็วขึ้น และมีการสึกหรอบริเวณนอกซ้าย - ขวา ของหน้ายางมากกว่าแนวกลาง บางคนอาจจะคิดว่า ถ้าอย่างนั้นเติมยางเกินไว้น่าจะดีกว่า จะได้ไม่ต้องตรวจสอบบ่อยๆ ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด เพราะแรงดันลมยางที่มากเกินไปทำให้ประสิทธิภาพการเกาะถนนลดลง จากหน้าสัมผัสที่ลดลง กระด้าง และถ้าลมยางแข็งมากๆ จะเสี่ยงต่อการระเบิด และมีการสึกหรอบริเวณแนวกลางมากกว่าริมนอกซ้าย-ขวา เดินทางไกล ควรเติมแรงดันลมยางแข็งกว่าปกติ 2 - 3 ปอนด์/ตารางนิ้ว เพื่อป้องกันยางร้อนมาก หรือแรงดันลมสูงเกินไปจนระเบิด อาจตรงข้ามกับความคิดผิดๆที่ว่า เมื่อเดินทางไกลยางหมุนด้วยความเร็วสูงและต่อเนื่อง ยางน่าจะร้อนและมีแรงดันลมเพิ่มขึ้น จากหลักการของก๊าซ อากาศร้อนจะขยายตัว ทำให้แรงดันลมเพิ่ม จึงคิดว่าน่าจะลดแรงดันลมลงจากปกติ ซึ่งผิด เพราะหากมีการลดแรงดันยางลงในขณะที่เดินทางไกล ยางจะกลับร้อนและมีแรงดันสูงมาก เพราะแก้มยางจะบิดตัวมากจนร้อน และทำให้แรงดันลมสูงขึ้นมากอย่างรวดเร็ว วิธีที่ถูกต้อง คือ เพิ่มแรงดันลมขึ้น 2 - 3 ปอนด์ เพื่อป้องกันการเปิดตัวของแก้มยางมากจนร้อน เป็นการป้องกันล่วงหน้า เช่น ยางที่มีแรงดันลม 32 ปอนด์ มากกว่าปกติ 2 ปอนด์ เมื่อเดินทางไกลอาจจะมีแรงดันลมเพิ่มขึ้นจากความร้อนเพียง 2 ปอนด์ แต่ถ้าแรงดันลมเหลือ 28 ปอนด์ ยางจะบิดตัวมากและร้อนมากกว่าอาจมีแรงดันลมเพิ่มขึ้นถึง 5 - 6 ปอนด์ และก็เป็นลมที่มีความร้อนสูงกว่าการเติมลมแรงดันสูงเผื่อไว้

4. สลับยางทุก 10,000 กิโลเมตร ควรสลับยางพร้อมกระทะล้อหน้า - หลังในแต่ละด้าน เพื่อให้มีการสึกหรอใกล้เคียงกันทั้ง 4 เส้น เพราะยางคู่ที่ใส่กับล้อขับเคลื่อนจะมีการสึกหรอมากกว่ายางอีกคู่หนึ่ง อย่าลืมดูทิศทางการหมุนและถ่วงล้อใหม่ด้วย แนวทางการสลับยาง และระยะทางที่เหมาะสม มักทีกำหนดในคู่มือประจำรถยนต์ ถ้าไม่สลับยางแล้วมีการสึกหรอไม่เท่ากัน หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนยางครั้งละคู่หรือ 2 ล้อ เพราะทำให้ต้องเปลี่ยนสลับครั้งละคู่ไปเรื่อยๆเสียเวลาและไม่ถูกต้อง ในการเปลี่ยนยาง ไม่ควรใช้ยางต่างรุ่นดอกกันในแกนล้อเดียวกันเพราะประสิทธิภาพการเกาะถนนจะ แย่ลง ควรใช้ยางขนาดเดียวกันและรุ่นเดียวกันทั้ง 4 ล้อ

5. หมั่นตรวจสอบการสึกหรอของดอกยางนอกจากตรวจสอบความลึกของดอกยางและสลับตาม ระยะทางแล้ว ยังควรหมั่นสังเกตการสึกหรอที่ผิดปกติตลอดหน้ายาง ซึ่งมีหลายลักษณะ ถ้าหน้ายางสึกเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง แสดงว่าศูนย์ล้อผิดปกติ แต่ถ้ามีการสึกไม่เรียบเสมอกันตลอดหน้ายาง หรือสึกเป็นบั้งๆอาจเกิดจากระบบช่วงล่างควรรีบแก้ไข เพราะมีผลต่ออาการทรงตัวของรถด้วย
6. หมดสภาพยางหมดอายุได้ในหลายลักษณะหลัก เช่น ดอกหมด , ไม่เกาะ , เนื้อแข็ง , โครงสร้างกระด้าง , แตกปริ , แตกลายงา , เสียงดัง หรือแก้มยางบวม เกิดขึ้นเพียงลักษณะเดียวหรือควบคู่กันก็ถือว่าหมดอายุ ไม่จำเป็นต้องดอกหมดแล้วยางถึงจะหมดสภาพเสมอไป เพราะความลึกของดอกยางเกี่ยวข้องกับการรีดน้ำ ฝุ่น และโคลนเป็นหลัก ส่วนประสิทธิภาพการเกาะถนนและการทรงตัว ขึ้นอยู่กับความแข็งของเนื้อยางและโครงสร้างภายใน ยางรถยนต์ส่วนใหญ่จะ เริ่มแข็งตัวขึ้นทีละนิด แต่จะรู้สึกได้ชัดเจนเมื่อผ่านการใช้งานไประยะหนึ่ง (ประมาณ 1 ปีหรือ 20,000 กิโลเมตร) ตามพื้นฐานของผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับยางที่แพ้ความร้อน เมื่อเนื้อยางแข็ง ดอกยางก็ไม่ค่อยสึก แต่แรงเสียดทานระหว่างหน้ายางกับผิวถนนจะลดลง หากเปรียบเทียบอัตราการสึกของดอกยางต่อระยะทาง แทบไม่มียางรุ่นไหนที่ดอกสึกเร็วขึ้นเมื่อผ่านการใช้งานไปแล้ว ส่วนใหญ่มักจะสึกช้าลงหรือแทบไม่สึกเลยเมื่อเนื้อยางแข็งกระด้างเต็มที่ ทดสอบ ง่ายๆโดยใช้เล็บจิกลงบนเนื้อของหน้ายางเก่า เปรียบเทียบกับยางใหม่ๆเนื้อยางเก่ามักแทบจิกไม่ลง อายุการใช้งานของยางสำหรับเมืองไทย เฉลี่ยประมาณ 3 ปี หรือ 50,000 - 60,000 กิโลเมตร ก็ถือว่ายางเสื่อมสภาพแล้ว แต่ก็ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาและลักษณะการใช้งาน ถ้าใช้งานเกินระยะทางข้างต้น ควรพิจารณาอย่างละเอียดว่าสภาพของยางดีหรือไม่ เพราะพบว่ายางรถยนต์หลายรุ่นสามารถใช้งานได้นานกว่านั้น ควรหลีกเลี่ยงยางเก่าเก็บ เพราะจะทำให้ระยะเวลาในการใช้ยางสั้นลงไปอีก

ข้อควรระวัง
1. ไม่จอดทิ้งไว้นาน รถ ยนต์ที่ใช้งานน้อย จอดนิ่งอยู่กับที่น้ำหนักของตัวรถทั้งหมดจะกดลงสู่ยางแต่ละเส้นในจุดเดียว โครงสร้างภายในและแก้มยางจะมีการยืดตัวและเสียความหยืดหยุ่น ยิ่งจอดนิ่งนานๆโครงสร้างของยางยิ่งมีโอกาสเสียง่ายขึ้น ถ้าต้องจอดนานมากทุก 1 สัปดาห์ต้องสตาร์ทเครื่องและนำรถออกไปแล่นอย่างน้อย 2 - 3 กิโลเมตร หรือเดินหน้าถอยหลัง 5 - 10 เมตรหลายๆครั้ง เพื่อให้แก้มยางและโครงสร้างของยางมีการขยับตัว
2. น้ำยาเคลือบ เป็น เรื่องปกติที่คนไทยที่รักสวยรักงาม น้ำยาเคลือบแก้มยางเพื่อเพิ่มความสวยงาม น้ำยาบางชนิดมีฤทธิ์ต่อเนื้อยาง ทำให้บวมหรือเปื่อยในระยะยาว ควรเป็นสารประเภทซิลิโคนจะปลอดภัยกว่า


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น