Subscribe

RSS Feed (xml)

Powered By

Skin Design:
Free Blogger Skins

Powered by Blogger

วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

คอมมอลเรลคืออะไร (commonrel)


ระบบ คอมมอลเรล เป็นชื่อเรียก ของระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงแบบหนึ่งของเครื่องยนต์ดีเซล จริงๆ แล้วก็คือ ระบบหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์นั่นเอง แต่เพราะเดิมเครื่องยนต์ดีเซลก็เป็นระบบหัวฉีดทุกตัวอยู่แล้ว ซึ่งเป็นแบบกลไก ถ้าจะเรียกระบบใหม่โดยมีคำว่าหัวฉีด (INJECTION) ผสมอยู่ด้วย ก็คงกลัวว่าจะเกิดความสับสนหรือไม่รู้สึกว่าใหม่จริง จึงนำจุดเด่นเรื่องการมีรางน้ำมันแรงดันสูงร่วมกันมาตั้งเป็นชื่อเรียก คอมมอนเรล เป็นชื่อเรียกระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงแบบเดียวกับ คาร์บูเรเตอร์ หัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ หัวฉีดกลไก หัวฉีดเคเจททรอนิกส์ (ในเบนซ์รุ่นเก่าๆ) ไม่ได้เป็นชื่อของเครื่องยนต์ และไม่มีใครเป็นเจ้าของลิขสิทธ์ในชื่อนี้แต่อย่างไร เป็นชื่อเรียกกลางๆ ของระบบหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ของเครื่องยนต์ดีเซล แบบมีรางน้ำมันแรงดันสูงร่วมกันเท่านั้น (คอมมอน=ร่วม เรล=ราง) เหมือนๆ กับเรียกว่า เครื่องยนต์เบนซินคาร์บูเรเตอร์, เครื่องยนต์เบนซินหัวฉีด, เครื่องยนต์ดีเซลหัวฉีดกลไก, เครื่องยนต์ดีเซลหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์ (คอมมอนเรล) ดังนั้นจึงไม่มีบริษัทรถยนต์รายใดเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในชื่อนี้ ปัจจุบันรถปิกอัพที่มีในประเทศไทยที่ใช้ระบบคอมมอนเรล ยังด้อยกว่ารถเก๋งในยุโรปนับสิบรุ่นที่มีระบบการทำงานเหนือกว่า และผ่านไอเสียยูโร สเต็ป 4 ดังนั้นถ้ารถปิกอัพในไทยเป็นซูเปอร์คอมมอนเรล รถเก๋งในยุโรปเหล่านั้นก็ไม่รู้จะสรรหาคำใดมาเรียก และไม่พบว่ามีรายใดใช้คำว่าซูเปอร์นำหน้า ถ้ามีก็เข้าข่ายโฆษณาเกินจริง การใช้คำว่าซูเปอร์คอมมอนเรล เป็นลูกเล่นในการโฆษณาสร้างความรู้สึกให้เหนือกว่าเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับทางวิศวกรรมเลย ผู้ผลิตอุปกรณ์และระบบคอมมอนเรลในปัจจุบันมีไม่กี่รายในโลก เช่น บ็อช, นิปปอน เดนโซ, เดลฟาย, ซีเมนส์ ฯลฯ นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่คนไทยมีโอกาสได้ใช้รถปิกอัพเครื่องยนต์คอมมอนเรล แม้จะทยอยเปลี่ยนกันอย่างช้าๆ ก็ตามทีบางยี่ห้อออกมาเพื่อสร้างภาพลักษณ์ และหวังผลทางการตลาด และราคา แต่รุ่นที่ขายดีจริงๆ ยังขายรุ่นเก่าอยู่ แต่ก็นับว่าเป็นโอกาสดีของคนไทย ที่จะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี ทางด้านวิศวกรรมยานยนต์ ในรถยนต์ทุกยี่ห้อไปในทางที่ดีขึ้น เรามาดูกันว่ามีค่ายใดที่เขาพัฒนาระบบนี้บ้าง และมีสมรรถนะอย่างไร เผื่อว่าท่านที่กำลังมองหารถไว้ใช้สักคันจะได้มีข้อมูลเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจเลือกครับ

เจ้าแรกที่นำคอมมอลเรลใช้คือ อีซูซุ TRUPER ถัดมามีรุ่นใหม่คือ d-max 2.5-3.0 ddi-i-tec ไปดูข้อมูลกัน
3.0 ddi-i-tec เป็นซูเปอร์คอมมอนเรล 3000 ดีดีไอ สายพันธ์แท้! จากอีซูซุ เครื่องยนต์รุ่นใหม่หมด รุ่น 4JJ1-TC เทคโนโลยีล่าสุด ล้ำยุคสุดว่ากันอย่างนั้น ข้อมูลที่เจ้าของค่ายนี้เขาบรรยายเกี่ยวกับ สมรรถนะว่าเป็นยอดสมรรถนะแรงสุด...เร็วสุด...ประหยัดน้ำมันสุด ให้กำลังสูงสุด 146 แรงม้า (107 กิโลวัตต์) ที่ 3,600 รอบ/นาที ให้แรงบิดสูงสุด 294 นิวตัน-เมตร ตั้งแต่รอบต่ำ และรักษาระดับแรงบิดสูงสุดต่อเนื่องจนถึงรอบสูง หรือ Flat Torque อย่างแท้จริงที่ 1,400 – 3,400 รอบ/นาที แต่ให้ความประหยัดน้ำมันยิ่งกว่าเดิม อี ซูซุ “ไอ-เทค” ซูเปอร์คอมมอนเรล 3000 ดีดีไอ แรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงสูง “Super High-pressure” 180 MPa. (เมกะปาสคาล) เทคโนโลยีล่าสุดของโลกคอมมอนเรล เทคโนโลยีล้ำหน้าสุดของโลกคอมมอนเรล ฉีดน้ำมันเป็นละอองอณูละเอียดกว่าเผาไหม้มีประสิทธิภาพหมดจดกว่า ประหยัดน้ำมันกว่า คุ้มค่าทุกอณูน้ำมันอย่างแท้จริง รักษาสิ่งเวลดล้อมมาตรฐานยูโร 3 ก็ถือว่าคุ้มค่า
ส่วนเจ้าเครื่อง 2.5 เป็นเครื่องยนต์ใหม่ล่าสุด! รุ่น 4JK1-TCไอเทค 2500 ดีดีไอ ซูเปอร์คอมมอนเรล
สุดยอดสมดุลแห่งเทคโนโลยี ประหยัดน้ำมันสุด พร้อมสมรรถนะเหนือชั้น เครื่องยนต์ขนาด 2,500 ซีซี พลังแรงสุด 116 แรงม้า หรือ 85 กิโลวัตต์ ที่ 3,600 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 280 นิวตัน-เมตร ที่ 1,800-2,200 รอบ/นาที พลังแรงจัด อัตราเร่งสูง ซึ่งประหยัด 25.4 ก.ม/ลิตร

มาดูที่ค่าย TOYOTA กันบ้างครับ
ถ้า คุณคือคนหนึ่งที่อยากมีส่วนช่วยลดมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้รถยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม วันนี้คุณสามารถค้นพบได้ในเครื่องยนต์ คอมมอนเรลไดเร็คอินเจคชั่น เพราะนอกจากสมรรถนะและความประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงที่กล่าวถึงไปแล้วนั้น เครื่องยนต์คอมมอนเรล ไดเร็คอินเจคชั่นยังเป็นเครื่องยนต์ที่สะอาดมีค่ามลพิษในไอเสียต่ำทั้งตัว เลขของค่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ และไฮโดรคาร์บอน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อสภาพแวดล้อมและสร้างมลภาวะในอากาศ แม้ว่าเครื่องยนต์ดีเซล
แบบไดเร็คอินเจคชั่นยุคเดิมให้อัตราความประหยัด น้ำมันที่ดี แต่ข้อเสียที่เห็นได้ชัดเจน คือมีควันดำ และมีค่าของก๊าซพิษในไอเสียที่สูงมาก เพราะระบบควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์ ยังไม่ทันสมัยเท่าที่ควร การจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงไม่แม่นยำ ระบบหัวฉีดแบบกลไก ไม่สามารถฉีดน้ำมันให้แตกตัวเป็นละอองละเอียด ทำให้การเผาไหม้ไม่ค่อยสมบูรณ์และส่งผลต่อเนื่องในเรื่องของมลพิษ เครื่องยนต์ D-4D แบบคอมมอนเรล ไดเร็คอินเจคชั่น ได้นำเทคโนโลยีหลากหลายมาใช้เพื่อการกำจัดมลพิษที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบสมองกลอิเล็กทรอนิกส์ ECU 32 บิท ช่วยควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์ ให้มีความแม่นยำและเปี่ยมประสิทธิภาพ ระบบปั๊มแรงดันสูงและระบบหัวฉีดไฟฟ้า จ่ายน้ำมันเข้าสู่ห้องเผาไหม้ได้อย่างต่อเนื่อง
และฉีดน้ำมันให้เป็นละอองฝอยคลุกเคล้ากับอากาศได้อย่างทั่วถึง เผาไหม้ได้สมบูรณ์ ระบบมัลติวาล์ว เพิ่มปริมาณไอดี และลดปริมาณไอเสียที่ถ่ายเทเข้า-ออก ภายในกระบอกสูบได้ดียิ่งขึ้น และระบบหมุนเวียนของไอเสีย หรือ EGR (Exhaust Gas Recirculation System) ช่วยลดควันดำที่มักจะเกิดจากเครื่องยนต์ดีเซล
นอกจาก นั้น ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อลดมลพิษ เช่น การติดตั้งเครื่องฟอกไอเสีย (Oxidation Catalytic Converter) ทำหน้าที่แยกก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ และไฮโดรคาร์บอน รวมทั้งก๊าซที่มากับไอเสียของเครื่องยนต์ดีเซล ระบบ NOx reduction Catalytic Converter เพื่อลดปริมาณของก๊าซไนโตรเจนออกไซต์ รวมทั้งยังติดตั้งตัวกรองอนุภาคในไอเสีย เพื่อทำหน้าที่แยกอนุภาคหนักออกจากไอเสีย และใช้ความร้อนเผาทำลายก่อนปล่อยออกสู่ภายนอก และพัฒนาระบบการจุดระเบิดล่วงหน้าด้วยการฉีดน้ำมันนำร่อง หรือ Pilot Injection ในระบบจุดระเบิดเพื่อให้กระบวนการเผาไหม้มีความสมบูรณ์แบบมากขึ้น
จากความล้ำหน้าทางเทคโนโลยีที่โตโยต้ามุ่งพัฒนาเพื่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เครื่องยนต์ D-4D คอมมอนเรลของโตโยต้าสามารถผ่านมาตรฐานควบคุมไอเสียในระดับ Euro Step III ซึ่งมีความเข้มงวดในการตรวจสอบ และเป็นมาตรฐานไอเสียระดับสูงที่ประกาศบังคับใช้ในยุโรปหลายประเทศ สิ่งเหล่านี้คือ ผลลัพธ์จากความทุ่มเทของโตโยต้าที่ห่วงใยในสภาพแวดล้อม จึงสร้างสรรค์เทคโนโลยีสีเขียวที่เปี่ยมด้วยพลังสะอาดและตอบสนองต่อการใช้ งานอย่างมีประสิทธิภาพ

ถัดมา ค่าย MAZDA
ตลาดปิกอัพไทยแนวรบยังดุเดือด คราวนี้เป็นทีของพระรองบ้าง เมื่อสองค่ายพันธมิตร "มาสด้า-ฟอร์ด" เตรียมส่งปิกอัพโฉมใหม่ลงสู้ศึก โดยมาสด้ากำหนดเปิดตัวกับสื่อมวลชนไปแล้ว เมื่อ 9 มี.ค.ปีที่แล้ว ขณะที่ฟอร์ดน่าจะเผยโฉมในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยทั้งคู่นอกจะชูรูปลักษณ์ใหม่ ที่แม้จะใช้พื้นฐานร่วมกัน แต่การออกแบบล้วนฉีกสไตล์ใครสไตล์มัน พร้อมชูเครื่องยนต์คอมมอนเรลใหม่ 2.5 ลิตร เทอร์โบ กำลังสูงสุด 105 กิโลวัตต์ และ 3.0 ลิตร เทอร์โบ 115 กิโลวัตต์ ที่มีแรงบิดสูงสุดเมื่อเทียบกับปิกอัพไทย ทำให้การออกตัว และอัตราเร่งดีกว่า แถมยังประหยัดน้ำมันกว่าเดิม 10% มาสด้าไฟเตอร์ นอกจากจะมีรูปโฉมใหม่หมดจด ซึ่งดูเหมือนจะได้รับอิทธิพลมาจากรถอเนกประสงค์รุ่น "ทริบิวต์" พอสมควร มาสด้ายังได้พัฒนาเครื่องยนต์ใหม่มาติดตั้งเรียกว่า เอ็มแซดอาร์-ซีดี (MZR-CD) ซึ่งเป็นเครื่องยนต์คอมมอนเรลเทอร์โบ มีให้เลือกทั้งขนาด 2,500 ซีซี และ 3,000 ซีซี และจากการที่ปิกอัพใหม่ของมาสด้า ที่ใช้พื้นฐานร่วมกับฟอร์ด รวมถึงเครื่องยนต์ที่นำมาติดตั้ง แม้จะเรียกชื่อแตกต่างกันไป แต่ยังไงก็เป็นบล็อกเดียวกัน ทำให้สเปกเครื่องยนต์ไม่น่าจะผิดเพี้ยนไปจากกันนัก สำหรับเครื่องยนต์ฟอร์ดเรนเจอร์ ใหม่ เป็นบล็อก 2,500 ซีซี คอมมอนเรล เทอร์โบ TDCI มีกำลัง105 กิโลวัตต์ หรือประมาณ 143 แรงม้า ที่ 3,500 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 330 นิวตัน-เมตร ที่ 1,800 รอบต่อนาที และเครื่องยนต์ 3,000 ซีซี คอมมอนเรล เทอร์โบ TDCI มีกำลัง 115 กิโลวัตต์ หรือประมาณ 156 แรงม้า ที่ 3,500 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 380 นิวตัน-เมตร ที่ 1,800 รอบต่อนาที
เหตุนี้ปิกอัพใหม่ของมาสด้าและฟอร์ด จึงมีจุดขายที่แรงบิดสูงสุดในรอบต่ำโดยเฉพาะเครื่องยนต์ 3,000 ซีซี เมื่อเทียบกับปิกอัพยี่ห้ออื่นๆ ที่ทำตลาดอยู่ในไทยปัจจุบัน ทำให้ปิกอัพมาสด้าและฟอร์ด มีการออกตัวที่ดี ประหยัดน้ำมันขึ้น 10% เมื่อเทียบกับรุ่นเดิม อัตราเร่งแซงดี เครื่องยนต์เดินเงียบ มีระดับเสียง และสั่นสะเทือน (NVH) ที่ต่ำ เช่นเดียวกับปริมาณไอเสีย ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยค่ามาตรฐานเสียผ่านมาตรฐานยูโร ระดับ 4

มาที่ค่าย FORD กันบ้าง
ฟอร์ดได้เปิดตัว กระบะ “เรนเจอร์ ใหม่” ที่วางเครื่องยนต์ใหม่ ดูราทอร์ก 380 คอมมอนเรล ชูแรงบิดสูงกว่าทุกค่าย พร้อมคงไว้ด้วยความอเนกประสงค์ และระบบนิรภัยมากขึ้นกว่าเดิมด้วยการติดตั้งถุงลมนิรภัยด้านข้าง บวกกับรูปลักษณ์สไตล์มะกัน โฉมใหม่ดุดันกว่าเก่า ฟอร์ด ย้ำแนวคิด “ชีวิตไร้ขีดจำกัด” เผยโฉมกระบะนิว“เรนเจอร์” พร้อมส่ง “เรนเจอร์” โฉมใหม่เอาใจคอกระบะที่ได้ปรับเปลี่ยนสไตล์กว่า 10 รายการตอบสนองความต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่องด้วยราคาคงเดิมพร้อม 3 สี อินเทรนด์ใหม่

ส่วนที่ค่าย NISSAN
นิสสัน ฟรอนเทียร์ โฉมใหม่ ถูกปรับปรุงให้มีหน้าตาทันสมัยขึ้น แถมออกศึกครั้งนี้ ยังปรับเปลี่ยนหัวใจใหม่ โดยวิศวกรของ นิสสัน วางเครื่องยนต์รุ่นใหม่ รหัส ZD30 ที่ให้กำลังม้าเพิ่มขึ้น ทันสมัยสุดๆ ด้วยฝาสูบแบบทวินแคม กับหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ECCS 16 บิท ช่วยให้เครื่องยนต์ เดินเรียบ และประหยัดน้ำมัน เมื่อรวมกับความสะดวกสบายภายในห้องโดยสารแล้ว ทำให้ นิสสันฟรอนเทียร์ โฉมใหม่คันนี้ สามารถใช้งานได้สารพัดประโยชน์ ทั้งบรรทุกของ หรือจะอวดหน้าตาก็ไม่ขัดเขิน ภายนอก...มาดสปอร์ท ล้ำสมัย ด้านหน้าภายนอก ออกแบบให้ดูคล้ายรถ เอสยูวี มากขึ้น โดยเฉพาะไฟหน้าแบบ มัลทิฟังค์ชัน รีเฟลคเตอร์ ที่รวมไฟหรี่และไฟเลี้ยวไว้ในกรอบเดียวกัน ฝากระโปรงหน้ายกระดับให้สูงขึ้น เพื่อผลทางด้านอากาศพลศาสตร์ กระจังหน้าบึกบึน มีสัญลักษณ์ นิสสัน ทรง 3 มิติ อยู่ตรงกลาง กันชนสีเดียวกับตัวรถ ทำเป็นสันนูนขึ้นมา คล้ายกริลล์การ์ด มีช่องรับลมขนาดใหญ่ไว้ดักลม เพื่อระบายความร้อนหม้อน้ำ ไฟตัดหมอกแบบ มัลทิรีเฟลคเตอร์ ฝังอยู่ที่มุมกันชน ด้านข้างมีไฟเลี้ยวทรงรี ติดตั้งไว้ เหนือซุ้มล้อหน้า กระจกมองข้างปรับมุมมองด้วยระบบไฟฟ้า โครงสร้างแชสซีส์เป็นแบบ ซูเพอร์เฟรม ช่วยดูดซับ และลดแรงกระแทกจากด้านหน้า พวงมาลัยยุบตัวได้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ และยังมีคานนิรภัยที่ประตูทุกบาน เพื่อปกป้องผู้โดยสารจากการชนด้านข้าง ช่วยเพิ่มความปลอดภัยได้มากขึ้น ภายในสไตล์เก๋ง เก็บเสียงได้เยี่ยม ห้องโดยสารเน้นความหรูหราสไตล์เก๋ง ด้วยเบาะนั่งหุ้มด้วยผ้าที่ออกแบบให้นั่งได้สบาย แม้ในยามที่ต้อง เดินทางไกล หรือติดหนึบอยู่บนถนนในเมืองกรุง คอนโซลหน้าสีทูโทน ตกแต่งด้วยลายไม้ ช่วยให้ดูดีขึ้น มาตรวัดสีขาว แถบสีน้ำเงิน อ่านง่าย มองเห็นชัดเจน ปุ่มเปิด/ปิดแอร์แบบหมุน ใช้งานสะดวก กระจกหลังมีลวดละลายฝ้ามาให้ด้วย ช่วยอำนวยความสะดวก ให้คุณอุ่นใจในความปลอดภัยด้วยระบบ เซนทรัลล๊อค พร้อมรีโมทคอนโทรล เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน นอกจากความหรูหราที่ฟรอนเทียร์ มีให้แล้ว นิสสัน ยังใช้วัสดุซับเสียงชั้นดี เพื่อทำให้ห้องโดยสารเงียบ กว่ารถพิคอัพทั่วไป และยังได้ผลดีจากการใช้เครื่องยนต์ ZD30 DD ที่ถูกออกแบบให้ทำงานได้เงียบ ทำให้แทบไม่มีเสียงเล็ดลอดเข้าไปภายในห้องโดยสารเลยทีเดียว เครื่องยนต์ ดีเซล ZD30DD สุดไฮเทค ล้ำหน้ากว่ารถปิคอัพทั่วไป ด้วยเครื่องยนต์ ZD30 DD ทวินแคม (DOHC) 16 วาล์ว ควบคุมการจ่ายเชื้อเพลิงด้วยคอมพิวเตอร์ ECCS 16 บิท ให้กำลังสูงสุด 105 แรงม้า ที่ 3,800 รอบต่อนาที แรงบิด สูงสุด 21.3 กก.-ม. ที่ 2,000 รอบต่อนาที และรักษาระดับแรงบิดสูงสุดนี้ไว้จนถึง 3,400 รอบต่อนาที นอกจากจะโดดเด่นด้วยฝาสูบทวินแคมแล้ว ZD30 DD ยังมีเทคโนโลยี เอม-ไฟร์ ไดเรคท์อินเจคชัน ที่รวมเอาข้อดีของระบบไดเรคท์อินเจคชัน และระบบอินไดเรคท์อินเจคชัน ไว้ด้วยกัน ทำให้ประหยัด น้ำมัน ลดความสั่นสะเทือน การสึกหรอ และมีมลพิษต่ำ เครื่องยนต์สร้างแรงบิดได้สูงตั้งแต่รอบต่ำ และรักษาระดับแรงบิดสูงสุด
เพิ่มช่วงการใช้งาน มีวาล์วตัดอากาศทำงานด้วยระบบไฟฟ้า ทำให้เครื่อง ไม่สะบัดขณะดับเครื่องยนต์
ระบบรองรับ ทนทรหด แต่นุ่มนวล ด้านหน้าแบบอิสระปีกนกคู่ ทอร์ชันบาร์ พร้อมชอคอับ และเหล็กกันโคลง ส่วนด้านหลังใช้เพลาแข็งทำงาน คู่กับแหนบ และชอคอับ ระบบห้ามล้อ ด้านหน้าแบบจาน พร้อมครีบระบายความร้อน ด้านหลังแบบดุม สามารถปรับระยะผ้าเบรคได้อัตโนมัติ พร้อมวาล์วปรับแรงดันน้ำมันเบรค ที่ใช้เซนเซอร์คอยตรวจจับการกระจายน้ำหนักของแรงกดระหว่างล้อหน้ากับล้อหลัง แล้วปรับแรงดันน้ำมันเบรคให้สมดุลกัน ช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพในการหยุดรถได้ดีขึ้น จากรายการ อุปกรณ์ทันสมัยต่างๆ ที่ค่ายนิสสัน บรรจุมาให้ ชี้ให้เห็นชัดว่ารถพิคอัพยุคนี้ ไม่ได้มีไว้ใช้ สำหรับบรรทุกของเพียงอย่างเดียว แต่สามารถใช้เป็นรถนั่งได้อย่างสบาย รวมทั้งสมรรถนะจากเครื่องยนต์ดีเซลที่ทันสมัย รหัส ZD30 DD ทำให้สนุกสนานกับการขับขี่ได้ไม่แพ้รถเก๋งทีเดียว

สุดท้ายค่ายน้องใหม่ในบ้านเรา CHEVROLET ครับ
บริษัท จี เอ็ม’ (GM) เดินหน้าเต็มสูบ ลุยตลาดปิกอัพต้นปีด้วยกระบะสายพันธุ์ใหม่ “เชฟโรเลต โคโลราโด G80 Diff-Lock” เขย่าวงการตลาดรถกระบะโดยติดตั้งระบบล็อกเฟืองท้าย กลไกอัตโนมัติ รายแรกของเมืองไทย ส่งผลให้เป็นกระบะที่มีกำลังมหาศาลพร้อมลุยทุกเส้นทาง ผู้บริหารประกาศมั่นใจจะทำให้ยอดขาย รถกระบะโคโรลาโดเพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ พร้อมคาดการณ์ในอนาคตคู่แข่งต้องเดินตาม

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ21 ธันวาคม 2552 เวลา 20:23

    ,มันพากันทำไปให้มันได้เงินมากๆเท่านั้น ที่แท้ก็แค่นั้นเอง สมัยก่อนมีแต่ทางเกวียนเต็มไปด้วยทราย มันก็วิ่งได้ไม่เห็นมีอะไร ถ้าทำทางวิ่งดีแบบทุกวันนี้มันก็ดีสุดๆได้เหมือนกัน คนทำเอาเงินให้มากๆเท่านั้น วุ่นทีเดียว.

    ตอบลบ